วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเพณี "แห่นางแมว"

เรื่อง หมอลำ

หมอลำ อีสาน


            "หมอลำ" สามารถมองออกได้ในสองลักษณะเพื่อหาความหมายคือ แสดงออกเป็นกิริยา หมายถึงการขับร้อง คือ การนำเอาเรื่องราวในวรรณคดีมาขับร้องเป็น บทกลอนทำนองทีเป็นภาษาอีสาน แสดงออกเป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเรื่องของการขับร้องหรือการแสดงที่เป็นเรื่องราว"หมอลำ" หมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลาย ๆ เรื่อง


วิวัฒนาการของหมอลำ

            เดิมทีสมัยโบราณในภาคอีสานเวลาค่ำเสร็จจากกิจธุรการงานมักจะมาจับกลุ่มพูดคุยกัน กับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อคุยปัญหาสารทุกข์สุกดิบและผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม ทีแรกนั่งเล่าเมื่อลูกหลานมาฟังกัน มากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่นเรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุกผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตร ีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดงมีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่าง ๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่นยาด (แย่ง) ชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ จากการมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อย ๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครใน เรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกงตัวตลก เสนา ครบถ้วน


หมอลำกลอน

            หมอลำกลอน เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่อันหนึ่งของอีสานลักษณะเป็นการลำ ที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกันมีเครื่องดนตรีประกอบเพียงชนิดเดียว คือแคน

การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอนลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำขึ้นอีกหนึ่งคนอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรักหักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้ปัจจุบันกลอนนั้นหาดูได้ยากเพราะขาดความนิยมลงไปมากแต่ว่าปัจจุบันได้วิวัฒนการมาเป็นหมอลำซิ่งเพื่อความอยู่รอดและผลก็คือได้รับความนิยมในปัจจุบัน


หมอลำกลอนซิ่ง

หมอลำกลอนซิ่งเป็นศิลปะการแสดงของชาวอีสานโดยได้นำเอาศิลปะที่มีมาตั้งแต่เดิมมาดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัยคือนำเอาหมอลำกลอนซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นการลำประกอบ

แคนเพียงอย่างเดียวมาประยุกต์เข้าดนตรีชิ้นอื่น ๆ เช่น พิณ เบส และกลองชุด จนได้รับความนิยมปัจจุบันได้มีการนำเอาเครื่องดนตรีสากลเช่น ออร์แกนคีย์บอร์ดมาประยุกต์เล่นเป็นทำนองหมอลำ ทำให้จังหวะสนุกคึกครื้น ประกอบกับการนำเพลงสากลเพลงสตริงเพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตมาประยุกต์เข้าด้วยลำซิ่ง เป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คน) ใช้เครื่องดนตรี สากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หมอลำกลอนซิ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นธุรกิจความความบันเทิงที่ได้รับความนิยม อีกแขนงหนึ่ง ที่ชาวอีสานนิยมจ้างไปเป็นมหรสพสมโภชน์งานที่ได้จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆรูปแบบการแสดง จะเป็นการร้องรำทำนองหมอลำประยุกต์กับเพลงที่สนุก โดยมีหมอลำฝ่ายชายคอยร้องแก้กับ หมอลำฝ่ายหญิง พร้อมกับ การ โชว์ลีลา การร่ายรำที่อ่อนช้อยงดงามและมีหมอแคนเป่าแคนประกบอยู่ข้าง ๆเพื่อคอยคลอแคนให้หมอลำไม่หลงคีย์เสียงของตนเองซึ่งหมอลำแต่ละคนจะมีหมอแคนประจำตัวของตัวเองปัจจุบัน วงหมอลำซิ่งใหญ่ ๆ จะมีหางเครื่องเพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย การว่าจ้าง เจ้าภาพจะเป็นคนจับคู่หมอลำเอง เพื่อจะได้เห็นการร้องแก้กันด้วยความสนุกสนานและมีไหวพริบ


หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน

เป็นการลำที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดงมีอุปกรณ์ประกอบทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจังและยังมี.เครื่องดนตรีประกอบ

แต่เดิมทีมีหลัก ๆคือ พิณ (ซุง หรือ ซึง) แคน กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอนหมอลำแสดงเป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่อง ค่อนข้างช้า แต่ก็ได้ อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของ ลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ประยุกต์ กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง(หมอลำ) มาร้องเพลงลูกทุ่งหรือบางคณะหมอลำได้นำเพลงสตริง ที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่อง ดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟู มากที่สุดคณะหมอลำดัง ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัดขอนแก่น มหาสารคามอุบลราชธานี หมอลำหมู่สามารถแบ่งตามทำนองของบทกลอนลำได้อีกซึ่งแต่ละทำนองจะออกเสียงสูงต่ำ ไม่เหมือนกัน ได้แก่ ทำนองขอนแก่น ทำนองกาฬสินธิ์ มหาสารคาม ทำนองอุบล เป็นต้น

วัฒนธรรมอีสานใต้ แดนวรมันต์

 ดินแดนถิ่นฐานแห่งวรมันต์
        สวัสดีครับหลังจากห่างหายไปนาน  แว้บหายไปเป็นพักใหญ่ มาเป็นพักเล็กๆน้อย   ทิ้งเรื่องราวที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นในสังคมอีสานใต้  ให้เพื่อนพี่น้องชาวบล๊อกที่สนใจในมุมมองของสังคมอีสานใต้ได้เข้าใจถึงวัฒนธรรม  
        ผมเองต้องขออภัยที่ขาดช่วงการนำเสนอเรื่องราวอย่างลึกๆในสังคมวัฒนธรรมไทยเขมรอีสานใต้ ซึ่งทิ้งช่วงไปนานดองงานเก่าไว้เเรมเดือน
         มาวันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่สะท้อนออกมาจากภาพถ่ายเก่าๆ  คล้ายๆกับว่าเป็นการเล่าเรื่องจากภาพ   ซึ่งภาพที่ผมหาได้มาเป็นภาพเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกขึ้นในพิธีวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเขมรอีสานใต้อย่างแท้จริง  ซึ่งเป็นทั้งความบังเอิญและการอนุเคราะห์จากญาติผู้ใหญ่ที่สมัยเมื่อ  30  -  25  กว่าปีก่อน การถ่ายภาพบันทึกเหตุการณ์ในพิธีกรรมงานต่างๆเป็นสิ่งที่เจ้าภาพหรือผู้จัดงานเห็นความสำคัญ  และเห็นว่าเป็นการบันทึกความทรงจำ  สามารถเก็บไว้ให้ลูกหลานดู  และยังส่งประโยชน์อีกมากมายที่คาดไม่ถึงเมื่อกาลเวลาแปรเปลี่ยน
         เอาเป็นว่ามาทัศนาและทราบถึงทรรศนะภาพเหล่านั้นได้เลยครับ
         ต้องขอเรียนก่อนนะว่าภาพทั้งหมดเป็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น นับตั้งแต่ประมาณ  ปี พ.ศ .2518  -  2537ในชุมชนบ้านหัวเสือ อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ   ถ่ายโดยช่างกล้องท้องถิ่น ใช้กล้องฟิล์ม  ซึ่งในสมัยนั้นทั้งหมู่บ้านมีกล้องดีและช่างภาพฝีมือดีเพียงคนเดียว กล้องถ่ายภาพมีใช้เพียงไม่กี่ตัว  ช่างที่บันทึกภาพในงานแต่ละครั้งต้องว่าจ้างจองตัวล่วงหน้า 
         การถ่ายภาพในสมัยนั้นเป็นที่นิยมไม่แพ้ปัจจุบันแต่ยังแพร่หลายน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบเหมือนในปัจจุบันเพราะกล้องมีใช้เฉพาะคนที่ค่อนข้างมีฐานะ   และผู้ที่ว่าจ้างมาถ่ายในงานก็ต้องมีฐานะว่าจ้างมาถ่ายภาพได้ 
          งานใดได้มีการบันทึกภาพเก็บไว้ดูถือเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจแก่ผู้จัดงานหลังเสร็จสิ้นงานนั้นๆเมื่อนำมาดู
         ภาพชุดเเรกเป็นภาพเกี่ยวกับการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ในภาษาเขมรเรี่ยกว่า
"เทอบ็อนเลิงปะเตี๊ยะทมัย " ที่เกิดขึ้นในชุมชนคนไทยที่มีเชื้อสายเขมรอีสานใต้  วัฒนธรรมแบบแผนพิธีกรรมยังคงเคร่งครัด  ผู้คนสมัครสมานสามัคคี  ภาพกลุ่มนี้ถ่ายเมื่อ  ประมาณ พ.ศ. 2518
            ภาพที่ 1 เป็นสภาพบรรยากกาศภายในครัวในงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
       
ซึ่งครัวในภาษาเขมรเรี่ยกว่า " กรัว "  ซึ่งงานดังกล่าวจะต้องมีกิจกรรมการเข้าครัวหรือภาษาเขมรเรี่ยกว่า " โจลกรัว" ตลอดจนทุกงานไม่ว่าจะเป็นงานใด  สังเกตุ  พ่อครัว(เอากรัว)กำลังนั่งช่วยกันหั่นเนื้อ  ต้มแกง   แม่ครัว(แมกรัว)สาละวนกับการเตรียมอาหารปัจจุบันภาพบรรยากาศดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเทียบกับสมัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพเรี่ยกว่า ปัจจุบันทันสมัยหลายสิบเท่าแต่บรรยากาสความเป็นวัฒนธรรมชุมชน กรัว แบบชุมชนหายไปแทนที่ด้วย กรัว  แบบสังคมเมืองมากขึ้น
         ภาพที่ 2-3- 4 บรรยากาศที่ใต้ถุนบ้านใหม่ที่ชาวอีสานใต้ใช้ประกอบกิจกรรมขึ้นบ้านใหม่ใต้ถุนบ้านดังกล่าว เป็นสถานที่ใช้ในการหนึ่งที่ชาวไทยเชื้อสายเขมรเรี่ยกว่า " รับพะเยียว" คือ สถานที่รับแขกที่จะมาช่วยงานการทำบุญขึ้นบ้านใหม่  สมัยก่อนนิยมยึดใต้ถุนบ้านใช้เป็นสถานที่ดังที่กล่าวมา   ไม่นิยมกางเต้นเพราะสมัยก่อนไม่ค่อยมีเต้นให้กางการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ใช้สถานที่ไม่มาก   ดังเหมือนการประกอบพิธีศพที่ต้องสร้างประรำและพิธีกรรมที่บริเวณลานนอกบ้านของตน
    
       
      
          ภายในใต้ถุนบ้านจะมีทั้งเเขกเรือคนเฒ่าคนแก่ที่เป็นฝ่ายต้อนรับคอบรับแขกที่มาช่วยงานและพบปะพูดคุยสนทนาทำกิจกรรมภายในงานอย่างสมัครสมานสามัคคี  และเป็นสถานที่จัดเก็บข้าวสารที่ชาวบ้านทำมาช่วยงาน มีเจ้าพนักงานจดบันทักลงสมุดผู้ที่นำเงินมาช่วยงาน  ชาวไทยเชื้อสายเขมรเรี่ยกว่า  "จาวบันจี " ต้องมาประจำ ณ สถานที่นี้เสมอ
           ภาพที่ 5  เป็นพิธีกรรมฝ่ายสงฆ์ที่เรี่ยกว่า  "การโซจจักตึกปะเตี๊ยะทมัย" คือการสวดเจริญพุทธมนต์ขึ้นบ้านใหม่ 
      
สังเกตุภาพดังกล่าวจะเห็นถึงองค์ประกอบการจัดวางสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ในพิธีกรรมโดยมีทั้งโต๊ะหมู่ในแบบธรรมเนียมของฝ่ายสงฆ์   และบายศรีหรือ  บายเสร็ย (สังเกตุบายเสร็ยแบบดังกล่าวหาชมได้อยากมากเพราะปัจจุบันมีวิวัฒนาการเอาอย่างบายศรีแบบวัฒนธรรมลาวและไทย) ในมุมที่มีการเเนะนำจากพราหมณ์
           ภาพที่ 6  เป็นพิธีพราหมณ์ โดยการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ที่เรี่ยกว่า "เฮาปลึงจองไดปะเตี๊ยะทมัย"
       
           ภาพที่  7  หลังเสร็จจากพิธีพราหมณ์แขกผู้มาร่วมงานจะร่วมกันผู้ข้อมือให้แก่เจ้าภาพ  หรือที่เรี่ยกว่า  "จองได"
    
สังเกตุว่าพิธีกรรมในภาพที่ 5 - 6 -7  นิยมกระทำขึ้นบนบ้านเท่านั้น  ทั้งเพื่อเป้นสิริมงคลแก่บ้านใหม่
         ภาพชุดที่  2  เป็นภาพในงานพิธีแซนการ์หรือจัมเรียบการ์ คืองานเเต่งงาน ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2534  ภาพบรรยากกาศในตอนนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปมากแม้ระยะเวลาไม่กี่ปีเป็นช่วงระยะเวลาที่ผมเองจำภาพเหตุได้เป็นอย่างดี  
           ภาพที่ 1  เป็นพิธีกรรมการโจลตะซาร  คือการเข้าปะรำ เตรียมพิธีกรรมในปะรำซึ่งมีเครือญาติฝ่ายเจ้าสาวเเละเจ้าบ่าวมาพร้อมกันที่ปะรำนับว่าแน่ถนัด จนบางส่วนไปกระจุกันอยู่ที่ใต้ถุนบ้าน  เป็นภาพบรรยากาศที่อบอุ่นและครึกครื้น  ที่ปัจจุบันหาดูและสัมผัสแทบจะไม่ได้แล้ว
     
         ภาพที่  2   เป็นพิธีการเจาะกราบหรือสัมเปี๊ยะ คือการไหว้ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง  ซึ่งจะสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงของการจัดพานบายเสร็ยหรือบายศรี ที่มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว
       
      ภาพที่  3  เป็นภาพญาติผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายร่วมกันในช่วงพิธี  การแซนสแนน คือการเซ่นผีเครือญาติโดยมีเครื่อเซ่นที่เรี่ยกว่า  สเเนน
       
ภาพในพิธีการเเซนการ์ในวัฒนธรรมคนไทยเชื้อสายเขมรอีสานใต้ในช่วงระยะเวลายุคสมัยนั้นมีความเป็นขนบยึดธรรมเนียมปฎิบัติอย่างเคร่งครัดและได้รับความสนใจและให้ความสำคัยเป็นอย่างมาก  แม้ความเปลี่ยนแปลงทางกระบวนการพิธีกรรมเเซนการืได้ขาดหายและลดทอดไปบ้างในปัจจุบันอย่างน่าใจหาย
      ภาพชุดที่  3  เป็นภาพการทำบุญพำเพ็ญในพิธีศพ  ที่เรี่ยกว่า " บ็อนขม๊อจ " ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2537
        ภาพที่ 1 เป็นพิธีการขึ้นเทศน์ของพระบนธรรมมาศ หรือ เรี่ยกว่า"โลก เลิงตี๊เลอตเนียส"  เป็นพิธีสงฆ์ที่พระชั้นผู้ใหญ่ที่มีความสามารถ ในการขึ้นเทศน์จากคำภีร์ใบลานที่เป็นภาษาเขมรทั้งหมด  เป็นพิธีกรรมช่วงบ่ายก่อนการเคลื่อนศพสู่ฌาปนสถาน
      
               ภาพที่  2  เป็นภาพวงปี่พาทย์ที่ในสังคมเขมรอีสานใต้นิยมว่าจ้างมาบรรเลงร่วมขบวนในพิธีกรรมงานศพ  ชาวเขมรเรี่ยกว่าวง "ปินเปียส"  หรือ "กวงสกัวร"(ทุ่มโมง)
      
           ภาพที่   3  เป็นขบวนการเคลื่อนศพมีคนเฒ่าคนแก่ญาติพี่น้องร่วมขบวน  เรียกว่า  ยัวขม๊อจเจน  คือการเคลื่อนขบวนศพนั่นเอง  ซึ่งสังเกตุภายในภาพชาวบ้าน ญาติๆ จะจับสายจูงศพ ที่ชาวไทยเชื้อสายเขมรเรี่ยกว่า " กระเเสบลัง"
    
           ภาพสุดท้าย  เป็นภาพการละเล่นในวัฒนธรรมของคนไทยเชื้อสายเขมรที่เรี่ยกว่า " ลีงอังกุล" คือการทอยสะบ้า  เป็นภาพที่ถูกถ่ายไว้ เมื่อปี พ.ศ 2533  ในช่วงเทศกาล สงกรานต์หรือ ที่เรียกว่า " เทศกาลจะตึกเปรี๊ยะเลิงชนัมทมัย"  การละเล่นดังกล่าวปัจจุบันหายสาบสูญไปจากวัฒนธรรมสังคมเขมรอีสานใต้ไปแล้วโดยปริยาย  ซึ่งเป็นที่ น่าเสียดาย
        

       ปัจจุบันภาพเหตุการดังกล่าวสะท้อนความเปลี่ยนเมื่อนำมาเปรียบเทียบในยุคสมัยปัจจุบัน  ซึ่งกล่าวได้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงขนบที่เคยยึดถือและปฏิบัติได้ลดทอดและเริ่มจะจางหายลงไปทุกทีทุกที   ความเป็นวัฒนธรรมเขมรอีสานใต้กำลังจะเป็นเพียงความทรงจำ   ถูกแทนที่และเอาอย่างวัฒนธรรมของสังคมเมืองเคลือบคลานเข้ามาอย่างน่าวิตก  สิ่งต่างที่เป็นปัจจัยในสังคมวัฒนธรรมอีสานใต้หลายๆด้านกำลังจำอยู่ในทิศทางใดเป็นสิ่งที่ลูกหลานควรให้ความสำคัญและหวงแหนในวัฒนธรรมความเป็นท้องถิ่นของตน


โดย บรรณาลัย

อย่าสิไลลืมถิ่ม มูลมังตั้งแต่เก่า อย่าสิเผามอดเมี้ยนเสียถิ่มบ่มีเหลือ บาดว่าเทื่อมื้อหน้า สิพาเฮาให้เฮืองฮุ่ง อีสานเอาสิพุ่ง เจริญขึ้นก็แต่หลัง เด้อ...."

อย่าสิไลลืมถิ่ม มูลมังตั้งแต่เก่า   
อย่าสิเผามอดเมี้ยนเสียถิ่มบ่มีเหลือ
บาดว่าเทื่อมื้อหน้า สิพาเฮาให้เฮืองฮุ่ง
อีสานเอาสิพุ่ง เจริญขึ้นก็แต่หลัง เด้อ...."

  บทความข้างต้นเป็นบทกลอนที่เรียกว่า "ผญาเป็นบทกลอนของคนอีสาน
สำหรับความหมายของคำผญาข้างต้นมีใจความรณรงค์ให้คนไทยร่วมกันอนุรักษ์
สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไปเผื่อว่าวัฒนธรรมเหล่านี้จะสามารถนำ
ความเจริญมาสู่ประเทศของเราก็ได้ สำหรับศิลปวัฒนธรรมอีสานนั้นมีมากมายหลายอย่าง เช่น ตัวอย่างที่ทาง
ชมรมนำมาเสนอเผยแพร่เป็นตัวอย่างพอสังเขป เพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรม
อันดีงาม วัฒนธรรมอีสานของชาวอีสานทุกสาขาที่บรรพบุรุษของเราได้สั่งสมไว้
จะเป็นวัฒนธรรมเกี่ยวกับชาติ ศาสนา ศิลปะ วิทยา จารีตประเพณี วรรณคดี
ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์
  เครื่องใช้ในครัวเรือน

ไห คือภาชนะที่ใช้บรรจุปลาร้า หรือหน่อไม้ดอง หรือบรรจุของดองอย่างอื่น มีลักษณะคล้ายโถโบราณ
ค่อง คือภาชนะที่สานโดยไม้ไผ่ กลวง น้ำไหลเข้าออกได้ เป็นรูปคล้ายโถโบราณ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุสัตว์น้ำ       
หวด คือภาชนะที่สานโดยไม้ไผ่เป็นรูปกรวย ใช้สำหรับนึ่ง
กระติบข้าว คือภาชนะที่สานโดยไม้ไผ่เป็นรูปทรงกระบอก เพื่อบรรจุข้าวเหนียวนึ่ง
กระด้ง คือภาชนะกลมที่สานโดยไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายถาด มีไว้สำหรับวางข้าวเหนียวที่นึ่งร้อนให้เย็นลง และใช้แทนถาดได้ด้วย

  หมอลำ
"ลำ" สามารถมองออกได้ในสองลักษณะเพื่อหาความหมายคือ แสดงออกเป็นกิริยา หมายถึงการขับร้อง คือ การนำเอาเรื่องราวในวรรณคดีมาขับร้องเป็น บทกลอนทำนองทีเป็นภาษาอีสาน แสดงออกเป็นคำนาม หมายถึง ชื่อเรื่องของการขับร้องหรือการแสดงที่เป็นเรื่องราว"หมอลำ" หมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลาย ๆ เรื่อง
วิวัฒนาการของหมอลำ
            เดิมทีสมัยโบราณในภาคอีสานเวลาค่ำเสร็จจากกิจธุรการงานมักจะมาจับกลุ่มพูดคุยกัน กับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อคุยปัญหาสารทุกข์สุกดิบและผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม ทีแรกนั่งเล่าเมื่อลูกหลานมาฟังกัน มากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี เช่นเรื่องกาฬเกษ สินชัย เป็นต้น ผู้เล่าเพียงแต่เล่า ไม่ออกท่าออกทางก็ไม่สนุกผู้เล่าจึงจำเป็นต้องยกไม้ยกมือแสดงท่าทางเป็น พระเอก นางเอก เป็นนักรบ เป็นต้น เพียงแต่เล่าอย่างเดียวไม่สนุก จึงจำเป็นต้องใช้สำเนียงสั้นยาว ใช้เสียงสูงต่ำ ประกอบ และหาเครื่องดนตร ีประกอบ เช่น ซุง ซอ ปี่ แคน เพื่อให้เกิดความสนุกครึกครื้น ผู้แสดงมีเพียงแต่ผู้ชายอย่างเดียวดูไม่มีรสชาติเผ็ดมัน จึงจำเป็นต้องหา ผู้หญิงมาแสดงประกอบ เมื่อ ผู้หญิงมาแสดงประกอบจึงเป็นการลำแบบสมบูรณ์ เมื่อผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องต่าง ๆ ก็ตามมา เช่น เรื่องเกี้ยวพาราสี เรื่องชิงดีชิงเด่นยาด (แย่งชู้ยาดผัวกัน เรื่องโจทย์ เรื่องแก้ เรื่องประชัน ขันท้า เรื่องตลกโปกฮาก็ตามมา จึงเป็นการลำสมบูรณ์แบบ จากการมีหมอลำชายเพียงคนเดียวค่อย ๆ พัฒนาต่อมาจนมีหมอลำฝ่ายหญิง มีเครื่อง ดนตรีประกอบจังหวะเพื่อความสนุกสนาน จนกระทั่งเพิ่มผู้แสดงให้มีจำนวนเท่ากับตัวละครใน เรื่อง มีพระเอก นางเอก ตัวโกงตัวตลก เสนา ครบถ้วน
หมอลำกลอน
            หมอลำกลอน เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่อันหนึ่งของอีสานลักษณะเป็นการลำ ที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกันมีเครื่องดนตรีประกอบเพียงชนิดเดียว คือแคน
การลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอนลำทวย (ทายโจทย์ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำขึ้นอีกหนึ่งคนอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิงรักหักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้ปัจจุบันกลอนนั้นหาดูได้ยากเพราะขาดความนิยมลงไปมากแต่ว่าปัจจุบันได้วิวัฒนการมาเป็นหมอลำซิ่งเพื่อความอยู่รอดและผลก็คือได้รับความนิยมในปัจจุบัน

หมอลำกลอนซิ่ง

หมอลำกลอนซิ่งเป็นศิลปะการแสดงของชาวอีสานโดยได้นำเอาศิลปะที่มีมาตั้งแต่เดิมมาดัดแปลงประยุกต์ให้ทันสมัยคือนำเอาหมอลำกลอนซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นการลำประกอบ
แคนเพียงอย่างเดียวมาประยุกต์เข้าดนตรีชิ้นอื่น ๆ เช่น พิณ เบส และกลองชุด จนได้รับความนิยมปัจจุบันได้มีการนำเอาเครื่องดนตรีสากลเช่น ออร์แกนคีย์บอร์ดมาประยุกต์เล่นเป็นทำนองหมอลำ ทำให้จังหวะสนุกคึกครื้น ประกอบกับการนำเพลงสากลเพลงสตริงเพลงลูกทุ่งที่กำลังฮิตมาประยุกต์เข้าด้วยลำซิ่ง เป็นวิวัฒนาการของลำคู่ (เพราะใช้หมอลำ 2-3 คนใช้เครื่องดนตรี สากลเข้าร่วมให้จังหวะเหมือนลำเพลิน มีหางเครื่องเหมือนดนตรีลูกทุ่ง กลอนลำสนุกสนานมีจังหวะอันเร้าใจ ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว หมอลำกลอนซิ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นธุรกิจความความบันเทิงที่ได้รับความนิยม อีกแขนงหนึ่ง ที่ชาวอีสานนิยมจ้างไปเป็นมหรสพสมโภชน์งานที่ได้จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆรูปแบบการแสดง จะเป็นการร้องรำทำนองหมอลำประยุกต์กับเพลงที่สนุก โดยมีหมอลำฝ่ายชายคอยร้องแก้กับ หมอลำฝ่ายหญิง พร้อมกับ การ โชว์ลีลา การร่ายรำที่อ่อนช้อยงดงามและมีหมอแคนเป่าแคนประกบอยู่ข้าง ๆเพื่อคอยคลอแคนให้หมอลำไม่หลงคีย์เสียงของตนเองซึ่งหมอลำแต่ละคนจะมีหมอแคนประจำตัวของตัวเองปัจจุบัน วงหมอลำซิ่งใหญ่ ๆ จะมีหางเครื่องเพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย การว่าจ้าง เจ้าภาพจะเป็นคนจับคู่หมอลำเอง เพื่อจะได้เห็นการร้องแก้กันด้วยความสนุกสนานและมีไหวพริบ

หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน
เป็นการลำที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดงมีอุปกรณ์ประกอบทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจังและยังมี.เครื่องดนตรีประกอบ
แต่เดิมทีมีหลัก ๆคือ พิณ (ซุง หรือ ซึงแคน กลอง การลำจะมี 2 แนวทาง คือ ลำเวียง จะเป็นการลำแบบลำกลอนหมอลำแสดงเป็นตัวละครตามบทบาทในเรื่อง การดำเนินเรื่อง ค่อนข้างช้า แต่ก็ได้ อรรถรสของละครพื้นบ้าน หมอลำได้ใช้พรสวรรค์ของตัวเองในการลำ ทั้งทางด้านเสียงร้อง ปฏิภาณไหวพริบ และความจำ เป็นที่นิยมในหมู่ผู้สูงอายุ ต่อมาเมื่อดนตรีลูกทุ่งมีอิทธิพลมากขึ้นจึงเกิดวิวัฒนาการของ ลำหมู่อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ประยุกต์ กลายเป็น ลำเพลิน ซึ่งจะมีจังหวะที่เร้าใจชวนให้สนุกสนาน ก่อนการลำเรื่องในช่วงหัวค่ำจะมีการนำเอารูปแบบของ วงดนตรีลูกทุ่งมาใช้เรียกคนดู กล่าวคือ จะมีนักร้อง(หมอลำมาร้องเพลงลูกทุ่งหรือบางคณะหมอลำได้นำเพลงสตริง ที่กำลังฮิตในขณะนั้น มีหางเครื่องเต้นประกอบ นำเอาเครื่อง ดนตรีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด แซ็กโซโฟน ทรัมเปต และกลองชุด โดยนำมาผสมผสานเข้ากับเครื่องดนตรีเดิมได้แก่ พิณ แคน ทำให้ได้รสชาติของดนตรีที่แปลกออกไป ยุคนี้นับว่า หมอลำเฟื่องฟู มากที่สุดคณะหมอลำดัง ๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบจังหวัดขอนแก่น มหาสารคามอุบลราชธานี หมอลำหมู่สามารถแบ่งตามทำนองของบทกลอนลำได้อีกซึ่งแต่ละทำนองจะออกเสียงสูงต่ำ ไม่เหมือนกัน ได้แก่ ทำนองขอนแก่น ทำนองกาฬสินธิ์ มหาสารคาม ทำนองอุบล เป็นต้น
  ฮีต 12
 คนอีสาน มีวัฒนธรรมประจำชาติและประจำท้องถิ่น มาแต่โบราณกาลแล้วนับศตวรรษ จนถือเป็นฮีตเป็นคลอง ...ต้องปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นประเพณีที่รู้จักกันดี
และพูดจนติด ปากว่า "ฮีตสิบสอง คลองสิบสิบสี่"

ฮีตสิบสอง คำว่า ฮีต มาจากคำภาษาบาลีที่ว่า จารีตตะ แปลว่า ธรรมเนียม แบบแผนความประพฤติ ที่ดีงามปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นประเพณี
ฮีต นั้นมี ๑๒ ประการ เท่ากับ ๑๒ เดือนใน ๑ ปี ตามระบบจันทรคติหรือพูดอีกนัยคือ การทำบุญ ๑๒ เดือนนั้นเอง

ฮีตที่ ๑บุญเข้ากรรม หรือ บุญเดือนเจียง
ภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตนผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทาน รักษาศีลฟังธรรมเกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า
บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น 15 ค่ำเพราะเหตุมีกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียง จึงเรียกว่า
บุญเดือนเจียง
ฮีตที่ ๒บุญคูนข้าว หรือ บุญคูนลาน
ทีสำหรับตีหรือนวดข้าว เรียกว่า ลาน การเอาข้าวที่ตีแล้วมากองให้สูงขึ้น เรียกว่าคูนลาน หรือที่เรียกกันว่าคูนข้าว ชาวนาที่ทำนาได้ผลดี อยากได้กุศล ให้ทานรักษาศีลเป็นต้น
ก็จัดเอาลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ การทำบุญในสถานที่ดังกล่าวเรียกว่าบุญคูนลานกำหนดเอาช่วงเดือนยี่เป็นเวลาทำบุญจึงเรียกว่าบุญเดือนยี่
ฮีตที่ ๓บูญข้าวจี่หรือบุญเดือนสาม
ข้าวเหนียวปั้นโรยเกลือ ทาไข่ไก่แล้วจี่ไฟให้สุก เรียกว่าข้าวจี่ การทำบุญมีให้ทานข้าวจี่เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าวจี่ นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย เพราะถือว่าได้กุศลเยอะ
ทำในช่วงเดือนสาม เรียกว่า บุญเดือนสาม
ฮีตที่ ๔บุญเผวส หรือ บุญเดือนสี่
บุญที่มีการเทศน์พระเวส หรือ มหาชาติ เรียกว่าบุญเผวส(ผะ-เหวดหนังสือมหาชาติ หรือ พระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรของ พระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวย
พระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูก บุญเผวสนิยมทำกันในช่วงเดือนสี่
ฮีตที่ ๕บุญสรงน้ำ หรือ บุญเดือนห้า
............... เมื่อเดือนห้ามาถึงอากาศก็ร้อนอบอ้าวทำให้คนเจ็บไข้ได้ป่วยการอาบน้ำชำระเนื้อกายเป็นวิธีการแก้ร้อนผ่อนให้เป็นเย็น ให้ได้รับความ สุขกายสบายใจ อีกอย่างหนึ่งมี
เรื่องเล่าว่า เศรษฐีคนหนึ่งไม่มีลูก จึงไปบะบน(บนบาลพระอาทิตย์และพระจันทร์เพื่อขอลูกเวลาล่วงเลยมาสามปี ก็ยังไม่ได้ลูกจึงไปขอลูกกับต้นไทรใหญ่ เทวดาประจำต้นไทร
ใหญ่ มีความกรุณาได้ไปขอลูกนำพระยาอินทร์ พระยาอินทร์ให้ธรรมะปาละกุมาร (ท้าวธรรมบาลมาเกิดในท้องภรรยาเศรษฐี เมื่อธรรมะปาละประสูติ เจริญวัยวัยใหญ่ขึ้น
ได้เรียนจบไตรเภท เป็นอาจารย์สอนการทำมงคลแก่คนทั้งหลาย กบิลพรหมลงมาถามปัญหาธรรมะปาละกุมาร(ถามปัญหาสามข้อคือ คนเราในวันหนึ่ง ๆ มีศรีอยู่ที่
ไหนบ้าง ถ้าธรรมบาลตอบได้จะตัดศีรษะตนบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลเสียดผลัดให้เจ็ดวันในชั้นแรก ธรรมบาลตอบไม่ได้ ในวันถ้วนหก ธรรมบาลเดินเข้าไปในป่า
บังเอิญได้ยินนกอินทรีย์สองผัวเมียพูดคำตอบให้กันฟัง ตอนเช้าศรี อยู่ ที่หน้า คนจึงเอาน้ำล้างหน้าตอนเช้า ตอนกลางวันศรีอยู่ที่อก คนจึงเอาน้ำหมดประพรหมหน้าอกตอนกลางวัน
และตอนเย็นศรีอยู่ที่เท้า คนจึงเอาน้ำล้างเท้าตอนเย็น ธรรมบาลจึงสามารถตอบคำถามนี้ได้)สัญญาว่าถ้าธรรมบาลตอบปัญหาจะตัดหัวของตนบูชา ธรรมบาลแก้ได้ เพราะศีรษะของ
กบิลพรหมมีความศักดิสิทธ์มาก ถ้าตกใส่แผ่นดินจะเกิดไฟไหม้ ถ้าทิ้งขึ้นไปในอากาศฝนจะแล้ง ถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ำจะแห้ง ก่อนตัดศีรษะกบิลพรหมเรียกลูกสาวทั้งเจ็ดคน เอาขันมา
รองรับแห่รอบเขาพระสุเมรุ หกสิบนาที แล้วนำไปไว้ที่เขาไกรลาสเมื่อถึงกำหนดปีนางเทพธิดาทั้งเจ็ดผลัดเปลี่ยนกันมาเชิญเอาศีรษะท้าวกบิลพรหมมาแห่รอบเขาพระสุเมรุ แล้ว
กลับไปเทวะโลก
ฮีตที่ ๖บุญบังไฟ หรือบุญเดือนหก
การเอาขี้เจีย(ดินประสิวมาประสมคั่วกับถ่าน โขลกให้แหลกเรียกว่าหมื่อ (ดินปืนเอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่อัดให้แน่น แล้วเจาะรูใส่หางเรียกว่าบั้งไฟ การทำบุญ
มีให้ทาน เป็นต้น เกี่ยวกับการทำบ้องไฟ เรียกว่า บุญบั้งไฟ กำหนดทำกันในเดือนหกเรียกว่าบุญเดือนหก เพื่อขอฟ้าขอฝนจากเทวดาเมื่อถึงฤดูแห่งการเพาะปลูก ทำไร่ทำนา
ฮีตที่ ๗.บุญซำฮะ หรือ บุญเดือนเจ็ด
การชำฮะ(ชำระสะสาวสิ่งสกปรกโสโครกให้สะอาดปราศจากมลทินโทษหรือความมัวหมอง เรียกว่า การซำฮะสิ่งที่ต้องการทำให้สะอาดนั้นมี 2 อย่างคือ ความสกปรก
ภายนอกได้แก่ร่งกาย เสื้อผ้า อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และความสกปรกภายใน ได้แก่จิตใจเกิดความความโลภมากโลภา โกรธหลง เป็นต้น แต่สิ่งที่จะต้องชำระในที่นี้คือเมื่อบ้าน
เมืองเกิดข้าศึกมาราวีทำลาย เกิดผู้ร้ายโจรมาปล้น เกิดรบราฆ่าฟันแย่งกันเป็นใหญ่ผู้คนช้างม้าวัวควายล้มตาย ถือกันว่าบ้านเดือดเมืองร้อนชะตาบ้านชะตาเมืองขาด จำต้องซำฮะ
ให้หายเสนียดจัญไร การทำบุญมีการรักษาศีลให้ทานเป็นต้นเกี่ยวกับการซำฮะนี้เรียกว่าบุญซำฮะ มีกำหนดทำให้ระหว่างเดือนเจ็ด จึงเรียกว่าบุญเดือนเจ็ด
ฮีตที่ ๘.บุญเข้าวัดสา(เข้าพรรษาหรือบุญเดือนแปด
การอยู่ประจำวัดวัดเดียวตลอดสามเดือนในฤดูฝนเรียกว่าเข้าวัดสาโดยปกติกำหนดเอาวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปดเป็นวันเริ่มต้น เรียกว่าบุญเดือนแปด
ฮีตที่ ๙บุญข้าวห่อประดับดิน หรือบุญเดือนเก้า
การห่อข้าวปลาอาหารและของเคี้ยวของกินเป็นห่อ ๆ แล้วเอาไปถวายทานบ้าง ไปแขวนตามกิ่งไม้ในวัดบ้าง เรียกว่าบุญข้าวประดับดิน เพราะมีกำหนดทำบุญ
ในเดือนก้าวจึงเรียกว่า บุญเดือนเก้า
ฮีตที่ ๑๐.บุญข้าวสาก หรือบุญเดือนสิบ
การเขียนชื่อใส่สลากให้พระภิกาและสามเณรจับและเขียนชื่อใส่ภาชน์ข้าวถวายตามสลากนั้นและทำบุญอย่าอื่นมีรักษาสีลฟังธรรม เป็นต้น เรียกว่าบุญข้าสาก (สลาก เพราะกำหนดให้ทำในเดือนสิบ จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบ
ฮีตที่ ๑๑.บุญออกวัดสา (ออกพรรษาหรือบุญเดือนสิบเอ็ด
การออกจากเขตจำกัดไปพักแรมที่อื่นได้เรียกว่า ออกวัดสา คำว่าวัดสาหมายถึงฤดูฝน ในปีหนึ่งมี 4 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรมสี่ค่ำเดือนแปดถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ในระยะ
สี่เดือนสามเดือนต้น ให้เข้าวัดก่อน เข้าครบกำหนดสามเดือนแล้วให้ออก อีกเดือนที่เหลือให้หาผ้าจีวรมาผลัดเปลี่ยนการทำบุญมีให้ทานเป็นต้น เรียกว่าการทำบุญเดือนสิบเอ็ด
ฮีตที่ ๑๒บุญกฐิน หรือ บุญเดือนสิบสอง
ผ้าที่ใช้ไม้สดึงทำเป็นขอบซึ่งเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผ้ากฐินนี้มีกำหนดเวลาในการถวายเพียงหนึ่งเดือนคือตั้งแต่ แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด ถึง เพ็ญสิบสอง เพราะกำหนดเวลาทำในเดือน ๑๒ จึงเรียกว่าบุญเดือนสิบสอง

  คลอง 14
คลองสิบสี่ หมายถึง ข้อกติกาของสังคม ๑๔ ประการที่ยึดถือปฏิบัติต่อกันเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคม มีดังนี้
๑.    เมื่อได้ข้าวใหม่หรือผลหมากรากไม้ ให้บริจาคทานแก่ผู้มีศิลแล้วตนจึงบริโภคและแจกจ่ายแบ่งญาติพี่น้องด้วย
อย่าโลภมาก อย่าจ่ายเงินแดงแปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบช้ากล้าแข็ง
๓. ให้ทำป้ายหรือกำแพงเอือนของตน แล้วปลูกหอบูชาเทวดาไว้ในสี่แจ(มุม)บ้านหรือแจเฮือน
. ให้ล้างตีนก่อนขึ้นเฮือน ๕ เมื่อถึงวันศีล ๗-๘ ค่ำ ๑๔-๑๕ ค่ำ ให้สมมาก้อนเส้า สมมาคีงไฟ สมมาขั้นบันได สมมาผักตู(ประตู)เฮือนที่ตนอาศัยอยู่
ให้ล้างตีนก่อนเข้านอนตอนกลางคืน
ถึงวันศีล ให้เมียเอาดอกไม้ธูปเทียนมาสมมาสามี แล้วให้เอาเอาดอกไม้ไปถวายสังฆเจ้า
ถึงวันศีลดับ ศีลเพ็ง ให้นิมนต์พระสงฆ์มาสูดมนต์เฮือน แล้วทำบุญตัก บาตร
.เมื่อภิกษุมาคลุมบาตร อย่าให้เพิ่นคอย เวลาใส่บาตรอย่าซุน(แตะ)บาตร อย่าซูนภิกษุสามเณร
๑๐เมื่อภิกษุเข้าปริวาสกรรม ให้เอาขันขันข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียน และเครื่องอัฐบริขารไปถวายเพิ่ม
๑๑.เมื่อเห็นภิกษุ เดินผ่านมาให้นั่งลงยกมือไหว้แล้วจึงค่อยเจรจา
๑๒อย่าเงียบเงาพระสงฆ์
๑๓อย่าเอาอาการเงื่อน(อาหารที่เหลือจากการบริโภค)ทานแก่สังฆเจ้าและอย่าเอาอาหารเงื่อนให้สามีตัวเองกิน
๑๔อย่าเสพกามคุณในวันศิล วันเข้าวัดสา วัดออกพรรษา วันมหาสงกรานต์และวันเกิดของตน

ที่มา http://student.swu.ac.th/hm471010389/isan.htm