วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

 
 
 
 
ตราประจำจังหวัด
เป็นรูปเจดีย์เก่าครอบต้นมะขาม เรียกว่า เจดีย์ขามแก่น ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่าครั้งหนึ่งต้นมะขามใหญ่ถูกตัดโค่นลงไว้หลายปีกลับงอกงามมีกิ่งก้านสาขาขึ้นอีก ประชาชนถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์จึงพากันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนั้นไว้เรียกว่า เจดีย์ขามแก่น และถือเป็นปูชนียสถาน เคารพกราบไหว้ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน จึงได้นำมาเป็นตราประจำจังหวัด ต่อมาคำว่า ขามแก่น ก็เพี้ยนเป็น ขอนแก่น
 
คำขวัญประจำจังหวัด
"พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก "
 
 
ดอกไม้ประจำจังหวัด
ชื่อ :: ดอกราชพฤกษ์
ชื่อสามัญ :: Golden Shower Tree, Purging Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์ :: Cassis fistula Linn.


ต้นไม้ประจำจังหวัด
ชื่อ :: ชัยพฤกษ์
ชื่ออื่นๆ :: กัลปพฤกษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ :: Cassia bakeriana Craib

มาฟังหมอลำสีทันดอน ....

ลำสีพันดอน

"ลำสีพันดร สี่พันดอน หรือสีทันดร" ก็คืออันเดียวกัน ลำสีพันดอน เป็นชื่อของการลำ ประเภทหนึ่ง ซึ่งลำคนเดียว เป็นทำนองสั้น เป็นคำ ๆ ไป ไม่มีการเอื้อนเสียงยาว ไม่มีคำขึ้นต้น และคำลงท้าย แต่เป็นจังหวะ มีทำนองเช่น
ใจประสงค์หน่วยแก้วเมือยอดแขนขวัญ ใจประสงค์องค์อวนจึงข่อยเดินมาพี้
เฮียมนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดังตองตัด พัดแต่เป็นชายมา บ่มีไผสิมาซ้อน
อ้ายนี้เป็นดังผ้าแพสะใบผืนเก่า น้องหากตุ้มห่อแล้ว สิไลถิ่มอ้ายบ่แหนง....
การนั่งฟ้อนนั้น จะเรียกได้ว่านั่งฟ้อนเกือบทุกก­ารขับลำ ไม่ว่าจะเป็น ขับ หรือ ลำ ครับเช่น ลำคอนสะหวัน ลำตั่งหวาย ลำบ้านซอก ขับโสม ลำมหาไซ ลำพื้น(อีสาน) ลำกลอน ขับซอ (ไทล้านนา) ขับลื้อ เป็นต้น ตอนหลังจึงมีการประยุกต์ ยืนลำได้

ประเพณี บุญอีสาน

บุญข้าวสาก ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ประเพณี บุญเดือน 10 อีสาน
 
 
บุญเดือนสิบ หรือ บุญข้าวสาก หมายถึงบุญที่ให้พระเณรทั้งวัด จับสลากเพื่อจะรับปัจจัยไทยทาน ตลอดจนสำรับกับข้าว ที่ญาติโยมนำมาถวายและบุญนี้จะทำกันในวันเพ็ญเดือนสิบ จึงเรียกชื่ออีกอย่างว่า "บุญเดือนสิบ"

ห่อข้าวน้อย มูลเหตุที่ทำ
เพื่อจะทำให้ข้าวในนาที่ปักดำไปนั้นงอกงาม และได้ผลบริบูรณ์ และเป็นการอุทิศส่วนกุศลถึงญาติผู้ล่วงลับ ไปแล้ว
ความเป็นมาของสลากภัตตทาน ในสมัยหนึ่งพุทธองค์ได้เสด็จไปกรุงพาราณสี ในคราวนี้นบุรุษเข็ญใจ พาภรรยาประกอบอาชีพตัดฟืนขายเป็นนิตย์เสมอมา เขาเป็นคนเลื่อมใสพระพุทธศาสนายิ่งนัก วันหนึ่งเขาได้ปรึกษากับภรรยาว่า "เรายากจนในปัจจุบันนี้เพราะไม่เคยทำบุญ-ให้ทาน รักษาศีลแต่ละบรรพกาลเลย ดังนั้นจึงควรที่เราจักได้ทำบุญกุศล อันจักเป็นที่พึ่งของตนในสัมปรายภพ-ชาติหน้า"ภรรยาได้ฟังดังนี้แล้ว ก็พลอยเห็นดีด้วย จึงในวันหนึ่งเขาทั้งสองได้พากันเข้าป่าเก็บผักหักฟืนมาขายได้ทรัพย์แล้วได้นำไปจ่ายเป็นค่าหม้อข้าว 1 ใบ หม้อแกง 1 ใบ อ้อย 4 ลำ กล้วย 4 ลูก นำมาจัดแจงลงในสำรับเรียบร้อยแล้วนำออกไปยังวัด เพื่อถวายเป็นสลากภัตตทานพร้อมอุบาสกอุบาสิกาเหล่าอื่น สามีภรรยาจับสลากถูกพระภิกษุรูปหนึ่งแล้วมีใจยินดี จึงน้อมภัตตาหารของตนเข้าไปถวายเสร็จแล้วได้หลั่งน้ำทักษิโณทกให้ตกลงเหนือแผ่นปฐพีแล้วตั้งความปราถนา "ด้วยผลทานทั้งนี้ข้าพเจ้าเกิดในปรภพใดๆ ขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็นใจไร้ทรัพย์เหมือนดังในชาตินี้ โปรดอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าทั้งสองเลย ขอให้ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์เพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติและมีฤทธิ์เดชมาก ในปรภพภายภาคหน้าโน้นเถิด" ดังนี้
ครั้นสองสามีภรรยานั้นอยู่พอสมควรแก่อายุขัยแล้วก็ดับชีพวายชนม์ไปตามสภาพของสังขาร ด้วยอานิสงฆ์แห่งสลากภัตตทาน จึงได้ไปเกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดาในดาวดึงส์สวรรค์ เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในวิมานทองอันผุดผ่องโสภาตระการยิ่งนัก พร้อมพรั่งไปด้วยแสนสุรางค์นางเทพอัปสรห้อมล้อมเป็นบริวาร มีนามบรรหารว่า "สลากภัตตเทพบุตรเทพธิดา"
กาล กตวา ครั้นจุติเลื่อนจากสวรรค์แล้วก็ได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์ในเมืองพาราณสี มีพระนามว่าพระเจ้าสัทธาดิส เสวยราชสมบัติอยู่ 84,000 ปี ครั้นเบื่อหน่ายจึงเสด็จออกบรรพชา ครั้นสูญสิ้นชีวาลงแล้วก็ได้ไปเกิดในพรหมโลก และต่อมาก็ได้มาอุบัติเป็นพระตถาคตของเรานั่นเอง นี่คืออานิสงฆ์แห่งการถวายสลากภัตต์ นับว่ายิ่งใหญ่ไพศาลยิ่งนัก สามารถอำนวยสุขสวัสดิ์แก่ผู้บำเพ็ญทั้งชาติมนุษย์และสวรรค์ ในที่สุดถึงความเป็นพระพุทธเจ้าได้
 
คำถวายสลากภัต
"เอตานิมะนังภันเต สะจากะภัตตานิ สะปะริวารานิ อะสุภัฏฐานน ฐะปิตานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุโน ภันเตอภิกขุสังโฆ เอตานิ สะลากะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ"
 
คำแปล
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งตั้งไว้ ณ ที่โน้น ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับซึ่งภัตตาหารพร้อมทั้งของที่เป็นบริวารเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลายเพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ.
 
 
พิธีกรรม
เมื่อถึงวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ญาติโยมจะเตรียมอาหาร คาวหวาน และหมากพลู บุหรี่ พอเข้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ญาติโยมจะพากันทำบุญใส่บาตร พอถึงเวลาประมาณ 9 - 10 โมงเช้า พระสงฆ์จะตีกลองโฮม(รวม) ญาติโยมจะนำอาหารที่เตรียมถวายพระสงฆ์และห่อข้าวน้อยซึ่งมีอาหารคาวหวาน อย่างละเล็กอย่างละน้อยแต่ละห่อประกอบด้วย
      1. ข้าวเหนียว เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปอย่างละเล็กอย่างละน้อยถือเป็นอาหารคาว
      2. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง แตงโม สับปะรด ฟักทอง (แล้วแต่จะเลือกใส่)เป็นอาหารหวาน
หลังจากนำอาหารที่เตรียมห่อเป็นคู่ๆ นำมาผูกกันเป็นพวงแล้วแต่จะใส่กี่ห่อก็ได้ส่วนใหญ่จะใช้ 10 คู่ เมื่อนำไปเลี้ยง "ผีตาแฮก" ที่นาของตนเองด้วย โดยมีความเชื่อว่าจะทำให้ผีตาแฮกพอใจ และช่วยดูแลข้าวกล้าในนาให้งอกงามสมบูรณ์ ตลอดจนช่วยขับไล่ศัตรูข้าวได้แก่ นก หนู ปูนา ไม่ให้มาทำลายต้นข้าวในนาอีกส่วนหนึ่ง เมื่อนำอาหารมาถึงศาลาวัดที่จะทำบุญแล้ว เขียนชื่อของตนลงในกระดาษ ม้วนลงใส่ในบาตร เมื่อทุกคนมาพร้อมกันแล้ว ผู้ที่จะเป็นหัวหน้ากล่าวนำคำถวายสลากภัต ญาติโยมว่าตามจบแล้วนำไปให้พระเณร จับสลากที่อยู่ในบาตร พระเณรจับได้สลากของใคร ผู้เป็นเจ้าของพาข้าว(สำรับกับข้าว)และเครื่องปัจจัยไทยทานก็นำไปประเคนให้พระรูปนั้นๆ จากนั้นพระเณรจะฉันเพล ให้พรญาติโยมจะพากันรับพรแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
ความเป็นมาของโปงลาง
โปงลาง เป็นเครื่องดนตรีที่พัฒนามาจาก "เกราะลอ" หรือ ขอลอ คำว่า "โปงลาง" นี้ ใช้เรียกดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีการเล่นแพร่หลายทางภาคอีสานตอนกลางและตอนเหนือ ความหมายของโปงลางนั้นมาจากคำ ๒ คำ คือ คำว่า "โปง" และ "ลาง" โปง เป็นสิ่งที่ใช้ตีบอกเหตุ เช่น ตีในยามวิกาลแสดงว่ามีเหตุร้าย ตีตอนเช้าก่อนพระบิณฑบาตให้ญาติโยมเตรียมตัวตักบาตร ตีเวลาเย็นเพื่อประโยชน์ให้คนหลงป่ากลับมาถูก เพราะเสียงโปงลางจะดังกังวาลไปไกล (สมัยก่อนใช้ตีในวัด) ส่วนคำว่า ลาง นั้น หมายถึง ลางดี ลางร้าย โปงลางนั้นก่อนที่จะเรียกว่า โปงลาง มีชื่อเรียกว่า "เกราะลอ" ซึ่ง เกราะลอ มีประวัติโดยย่อคือ ท้าวพรหมโคตร ซึ่งเคยอยู่ประเทศลาวมาก่อนเป็นผู้ที่คิดทำเกราะลอขึ้น โดยเลียนแบบ "เกราะ" ที่ใช้ตีตามหมู่บ้านในสมัยนั้น เกราะลอทำด้วยไม้หมากเลื่อม (ไม้เนื้ออ่อน สีขาว มีเสียงกังวาล ) ใช้เถาวัลย์มัดร้อยเรียงกัน ใช้ตีไล่ฝูงนก กา ที่มากินข้าวในไร่ ในนา เนื่องจากเกราะลอใช้สำหรับตีไล่ ฝูงนก กา ที่มากินข้าวในไร่นา ดังนั้น จึงมีเกราะลออยู่ในทุกโรงนา (อีสานเรียกว่า เถียงนา) เมื่อเสร็จจากภาระกิจในนาแล้ว ชาวนาจะพักผ่อนในโรงนาและใช้เกราะลอเป็นเครื่องตี เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ โดยเกราะลอนี้จะตีนอกหมู่บ้านเท่านั้น เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าตีในหมู่บ้านจะเกิดเหตุการไม่ดี เช่น ฟ้าฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล เป็นต้น การเรียนการตีเกราะลอในสมัยก่อน เป็นการเลียนแบบ คือเป็นการเรียนที่ต้องอาศัยการจำโดยการจำทำนองของแต่ละลาย เกราะลอที่มี 9 ลูกนี้จะเล่นได้ 2 ลายคือ ลายอ่านหนังสือใหญ่ และลายสุดสะแนน เช่นเดียวกับลายแคนและลายพิณ ดังนั้นเมื่อนำมาเล่นผสมผสานกันจึงได้อรรถรสยิ่งนัก โปงลาง มีลักษณะวิธีการบรรเลงคล้ายกับระนาดเอก คือนำท่อนไม้ หรือกระบอกไม้มาร้อยติดกันเป็นผืน และใช้ไม้ตีเป็นทำนองเพลง แขวนตี กับเสาบ้าง ขึงบนรางบ้าง หรือบางทีก็ผูกติดกับตัวผู้บรรเลง เครื่องดนตรีชนิดนี้พบทั่วไปในหลายประเทศ สำหรับในประเทศไทยพบในแถบภาคอีสาน และเรียกเครื่องดนตรีนี้หลายชื่อด้วยกัน เช่นเรียกว่า หมากกลิ้งกล่อม หมากขอลอ หรือหมากโปงลาง เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่า หมากขอลอ เพราะเวลาเคาะแต่ละลูกมีเสียงดังกังวานคล้าย ขอลอ (หมายถึง เกราะ ในภาษาอีสาน)

ในปัจจุบัน โปงลางนอกจากจะใช้บรรเลงตามลำพังแล้ว ยังนิยมบรรเลงรวมวงกับเครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น พิณ แคน โหวด กลอง ประกอบการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน รวมทั้งการแสดงร่วมกับเครื่องดนตรีสากล อีกด้วย

หมอลำ ผุเฒ่ารุ่นเก่าๆๆๆ


ประเพณีไหลเรือไฟ

เรือไฟ หรือ เฮือไฟ หมายถึง เรือที่ำทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่ หรือ วัสดุ ที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่าง ๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น

"ไหลเรือไฟ" เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนอีสาน ยึดถือปฏิบัติ สืบทอด กันมาแต่ครั้งโบราณ ประเพณีการไหลเรือไฟ บางทีเรียกว่า "ล่องเรือไฟ" "ลอยเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเรือไฟ" ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ

ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม

งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประเพณีไหลเรือไฟ มีความเชื่อเกี่ยวโยง สัมพันธ์กับข้อมูลความเป็นมาหลายประการ เช่น เนื่องจากการบูชารอยพระพุทธบาท การสักการะพกาพรหม การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณี การระลึกถึงพระคุณ ของพระแม่คงคา เป็นต้น

เรือไฟประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทุ่นสำหรับลอยน้ำ จะใช้ไม้ที่ลอยน้ำ มาผูกติดกันเป็นแพ และส่วนที่เป็นรูปร่างสำหรับจุดไฟ เป็นส่วนที่อยู่บนทุ่น ใช้ไม้ไผ่ ลำยาวแข็งแรง ตั้งปลายขึ้นทั้ง 3 ลำ เป็นเสารับน้ำหนักของแผลง และแผลงนี้ ก็ทำด้วยไม้ไผ่ขนาดเล็กมาผูกยึดไขว้กัน เป็นตารางสี่เหลี่ยม ระยะห่างกันประมาณ คืบเศษ มัดด้วยลวดให้แน่ วางราบบนพื้น เมื่อวางแผนงานออกแบบบนแผงว่า ควรเป็นภาพอะไร การออกแบบในสมัยก่อน ออกแบบเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ศาสนาพุทธ เช่น พุทธประวัติ เป็นต้น
ปัจจุบัน นิยมออกแบบให้เข้ากับเหตุการณ์ เมื่อได้ภาพก็เริ่มทำลวดลายของภาพ โดยส่วนที่จะก่อให้เกิดลายนั้น เป็นไม้ไผ่อันเล็ก ๆ และลวดคัดให้เป็นลาย ตามที่ต้องการ แล้วใช้ผ้าจีวรเก่า ๆ มาฉีกเป็นริ้ว ๆ ชุบน้ำมันยาง (ปัจจุบัน เปลี่ยนมาเป็นใช้น้ำมันโซล่า (ดีเซล)) เมื่อชุบแล้วก็นำไปตากนาน 6 - 7 วัน หรือ ไม่ตากก็ได้ แล้วนำมาพันกับเส้นลวดจนทั่วและมีริ้วผ้าเส้นเล็ก ๆ วางแนบ เป็นแนวยาว ทำหน้าที่เป็นสายชนวน เมื่อเวลาจุดไฟ เมื่อเรียบร้อย นำไปปักไว้ กลางแพ โดยผูกติดกับไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ที่เป็นฐาน เมื่อถึงเวลาก็จุดไฟ แล้วปล่อย ไปตามแม่น้ำ
ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ
ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม
ในปัจจุบัน วิธีทำเรือไฟ มีการนำเอเทคโนโลยีแนวใหม่ ๆ เข้ามาช่วย เช่น การใช้เรือจริง ๆ แทนต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ ใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันโซล่า (ดีเชล) แทนน้ำมันยาง หรือการใช้ไฟฟ้าประดับเรือแทนการใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันยาง เป็นต้น
ประเพณีการไหลเรือไฟภาคอีสาน จะเป็นประเพณีที่คาบเกี่ยว ระหว่างเดือน สิบเอ็ด และเดือนสิบสอง ส่วนมากนิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันแรม 1 คำ เดือนสิบเอ็ด พอถึงวันงาน ชาวบ้าน พระภิกษุสงฆ์และสามเณร จะช่วยกันทำเรือไฟ เพือ่ไปลอยที่แม่น้ำ ในช่วงเช้าจะมีการประกอบการกุศล โดยการไปทำบุญตักบาตร
มีการถวายภัตตาหารเพลแล้ว เลี้ยงญาติโยมที่มาในช่วงบ่าย มีการละเล่นต่าง ๆ เพื่อความสนุกสนาน รวมทั้งมีการรำวงเป็นการฉลองเรือไฟ พอประมาณ 5 - 6 โมง เย็น หรือตอนพลบค่ำ มีการสวดมนต์รับศีลและฟังเทศน์ ถึงเวลาประมาณ 19 - 20 นาฬิกา ชาวบ้าน จะนำของกิน ผ้า เครื่องใช้ ขนม ข้าวต้มมัด กล้วย อ้อย หมากพลู บุหรี่ ฯลฯ ใส่ลงในกระจาดบรรจุไว้ในเรือไฟ ครั้งถึงเวลา จะจุดไฟให้เรือสว่าง แล้วปล่อยเรือให้ลอยไปตามแม่น้ำ
จังหวัดที่เคยทำพิธีกรรมการไหลเรือไฟอย่างเป็นทางการ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม หนอง เลย มหาสารคาม และ อุบลราชธานี
ผ้าพื้นบ้านภาคอีสาน
                ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ ๑๘ จังหวัด ประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่า ๒๐ ชาติพันธ์ ส่วนมากเป็นกลุ่มชนชาวไทยเชื้อสายไท-ลาว หรือชนเผ่าไท-ลาว ที่คนไทยภาคอื่นมักเรียกว่า  ลาว  เป็นกลุ่มชาติพันธ์ใหญ่สุดของภาคอีสาน  ภาคอีสานมีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด  หรือประมาณ ๑๗๐๒๒๖ ตารางกิโลเมตร กลุ่มไท-ลาวเหล่านี้กรระจายอยู๋ทัวไปแทบทุกจังหวัด  และสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดเลย  นครราชสีมา และชัยภูมิ มีความใกล้ชิดกับหลวงพระบาง  กลุ่มชนในเขตจังหวัดหนองคาย  อุดรธานี ขอนแก่น มีความใกล้ชิดกับเวียงจันทน์  กลุ่มชนในเขตจังหวัดนครพนม สกลนคร และกาฬสินธุ์  เป็นกลุ่มผู้ไทหรือภูไท  กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และมหาสารคาม  โน้มเอียงไปทางจำปาสัก  กลุ่มชนในบริเวณภาคอีสานมิได้มีเฉพาะคนไท-ลาวเท่านั้น ยังมีกลุ่มชนเผ่าอื่นๆ อีกเช่น ข่า กระโส้ กะเลิง ส่วย และเขมร โดยเฉพาะเขมรและส่วยซึ่งกระจายกันอยู่ในบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
(กลุ่มไทย-ลาว)
การตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคอีสานของกลุ่มชนเผ่าไทเชื้อสายต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มไท-ลาว เป็นกลุ่มชนที่มีก่รผลิตผ้าพื้นบ้านของอีสานแพร่หลายที่สุด แต่ยังแยกเป็นกลุ่มย่อยตามวัฒนธรรมได้อีกหลายกลุ่ม เช่น ลาวกาว ลาวพวน ลาวโซ่ง ลาวคั่ง กลุ่มชนเหล่านี้มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน แต่วัฒนธรรมการทอผ้าและการใช้ผ้าอาจแตกต่างกันบ้าง กลุ่มชนเหล่านี้มีชาติพันธ์เดียวกันและมีถิ่นกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง  ตั้งแต่เขตเมืองสิงห์ทางตอนใต้ของแคว้นสิบสองปันนาในสาธารณรัฐประชาชนจีน  ลงมาจนถึงแคว้นสิบสองจุไทหรือเดียนเบียนฟูในประเทศเวียดนาม  ครอบคลุมลงมาถึบริเวณแคว้นตรันนินท์ของญวน  ชนกลุ่มนี้ได้ร่วมก่อสร้างเมืองขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ มาช้านานแล้ว เมื่อพิจารณาสภาพภูมิศาสตร์ในทำนองที่มีความสัมพันธ์กับตำนานแล้วจะเห็นว่า   แหล่งกำเนิดของคนที่ต่อมากลายเป็นคนไท ลาว ญวน และฮ่อนั้นมาจากบริเวณกลุ่มแม่น้ำดำ  แคว้นสิบสองจุไท  แล้วกระจายไปยังลุ่มน้ำต่างๆ กลุ่มหนึ่งมาทางลุ่มแม่น้ำโขงทางด้านตะวันตกและทางด้านใต้คือพวกไท-ลาว  และได้สร้างอาณาจักรล้านช้างขึ้นที่หลวงพระบาง  มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ซึ่งร่วมสมัยกับสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ แห่งกรุงสุโขทัย  พระเจ้าฟ้างุ้มได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง  ตีได้เมืองเวียงจันทน์  เวียงคำ  เมืองโคตรบอง  และบางส่วนของลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสาน  ต่อมาพระเจ้าฟ้างุ้มถูกปลดออกจากราชสมบัติและหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองน่าน  โอรสชื่อเท้าอุ่นเรือนได้ครองราชย์แทนทรงพระนามว่า  พรเจ้าสามแสนไท  ต่อมาเป็นกษัตริย์ที่สำคัญองค์หนึ่ง  พงศาวดารล้านช้างระบุว่าพระองค์ทรงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับกรุงศรีอยุธยาและเชียงใหม่  สมัยพระเจ้าสามแสนไทตรงกับรัชกาลสมเด็จะรเจ้าบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพระงั่ว พ.ศ. ๑๙๑๓ – ๑๙๓๑) รัชกาลของพระเจ้าสามแสนไทเป็นช่วงเวลาที่ลาวเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภาคอีสาน  มีทั้งที่ตั้งบ้านเมืองขึ้นใหม่และพวกที่อยู่ปะปนกับชาวพื้นเมืองเดิม
อาณาจักรล้านช้างมีกษัตริย์วสืบต่อมาทั้งที่สร้างความเจริญให้บ้านเมืองและบางครั้งก็ทำให้บ้านเมืองเดือดร้อนเกิดความแตกแยกออกเป็นกลุ่มเป็นแคว้น  จนถึงสมัยกรุวธนบุรี  ลาวได้แตกแยกออกเป็นแคว้นต่างๆ ๓ แคว้น  คือ หลวงพระบาง เวียงจันทน์ และจำปาสัก  ต่างฝ่ายต่างแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก  เช่น สยาม ญวน ทำให้ลาวอ่อนแอ จนในที่สุดทั้งสามแคว้นก็ตกเป็นเมืองขึ้นของสยามทั้งหมด
(ผ้าฝ้ายมัดหมี่ลายดอกบีบ จ.พิษณุโลก)
ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ตรงกับรัชกาลเจ้าอนุวงศ์ของลาวเกิดความขัดแย้งแตกแยกกัน  ทำให้ลาวบางกลุ่มหนีเข้ามาลี้ภัยในบริเวณภาคอีสานสยามให้การสนับสนุนเพราะถือว่าลาวเป็นประเทศราช  จีงส่งเสริมให้มีการตั้งชุมชนเป็นหมู่บ้านเป็นเมืองขึ้นเพื่อขยายประเทศ  อันมีผลต่อการเก็บส่วยและเกณฑ์คนเข้ามารับราชการและใช้แรงงาน  เป็นเหตุให้เกิดเมืองต่าง ๆ ขึ้นในภาคอีสาน  แต่ภายหลังชาวลาวที่เข้ามาอยู่ในภาคอีสานเกิดความขัดแย้งกับเจ้าอนุวงศ์จนเป็นสงครามลุกลามถึงกรุงเทพฯ เกิดเป็นสงครามระหว่างสยามกับลาว  สุดท้ายลาวฝ่ายเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้  เจ้าอนุวงศ์และครอบครัวถูฏจับเป็นเชลยมายังกรุงเทพฯ  สงครามครั้งนั้นส่งผลให้ประชาชนหลายเผ่าพันธ์ต้องโยกย้ายที่อยู่อาศัย  บางกลุ่มโยกย้ายไปอยู่ในเขตญวน  บางกลุ่มโยกย้ายเข้ามาในเขตไท  และบางพวกถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในบริเวณภาคกลาง  เช่น บริเวณจังหวัดชลบุรี เพชรบุรี กำแพงเพชร ปราจีนบุรี  ฉะเทริงเทรา และนครนายก  จากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่า  ชาวลาวได้เข้าสู่ดินแดนไทย ๒ ลักษณะ คือ พวกแรกอพยพเข้ามาลี้ภัยตั้งบ้านเมือง  ส่วนใหญ่กระจายอยู่ในบริเวณภาคอีสาน กลุ่มที่สองถูกกวาดต้อนเข้ามาระหว่างสงคราม  ส่วนมากจะถูกนำมาภาคกลาง  แล้วกระจายกันไปตั้งถิ่นฐานในหลายจังหวัดของภาคกลาง
รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงจัดการปกครองหัวเมืองภาคตะวันออกเป็นหัวเมืองประเทศราช  ๓ เมือง คือ เวียงจันทน์ นครพนม นครจำปาสัก ให้เมืองนครราชสีมาปกครองเมืองเขมรป่าดง  และเมืองที่ไม่ขึ้นกับประเทศราชทั้งสาม  โดยอนุโลมให้หัวเมืองประเทศราชปกครองกันเองตามธรรมเนียมราชการเดิม  ไม่เข้าไปทำกิจกรรมภายใน  เพียงให้ส่งเครื่องราชบรรณการตามที่กำหนดเท่านั้น  ลักษณะเช่นนี้ปฏิบัติกันมาจนถึงรัชกาลที่ ๓ ชุมชนลาวที่เข้ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ในภาคอีสานนั้นยังคงรับวัฒนธรรมจากล้านช้างเรื่อยมา  เพราะสภาพทางภูมิศาสตร์ เอื้ออำนวยให้ติดต่อใกล้ชิดกันได้สะดวกมากกว่า  เนื่องจากมีเพียงแม่น้ำโขงกั้นเท่านั้น  ประกอบกับอำนาจทางการเมืองของกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและต้นรัตนโกสินทร์ยังไปไม่ถึงดินแดนภาคอีสาน  จึงทำให้ผู้คนแถบล้านช้างที่เข้ามาอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในภาคอีสานของสยามในสมัยนั้น  ไม่ค่อยมีความรู้สึกผูกพันธ์กัยราชสำนักมากนักจนราชสำนักกรุงเทพฯ ต้องจัดส่งข้าหลวงใหญ่ไปปกครองโดยตรงที่เมืองอุบลราชธานีในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ เพราะราษฎรในแถบนั้นไม่ยอมรเสียส่วยให้กับทางราชการ โดยอ้างว่าไม่ใช่คนไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการมีอำนาจปกครองเหนือดินแดนอีสานในระยะนั้นมุ่งผลทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ไม่สนใจเรื่องการผลิตฝ้ายและไหมซึ่งเป็นวัตถุดิบในการทอผ้าทำเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ต่างๆ เลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่การผลิตฝ้ายและไหมในภาคอีสานรับวัฒนธรรมจากล้านช้างซึ่งทำใช้กันเอง ส่วนราชสำนักสั่งซื้อผ้าจากต่างประเทศมาใช้
ต่อมาเมื่อมีการสร้างทางรถไฟสายนครราชสีมาด้วยเหตุผลทางการเมืองและทางยุทธศาสตร์แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ กระทั่ง พ.ศ. ๒๔๔๕ กระทรวงเกษตราธิการและกระทรวงมหาดไทยก็ยังไม่ทราบว่ามีแหล่งเลี้ยงไหมอยู่ในภาคอีสานเป็นเวลานานแล้ว เพราะจากรายงานการตรวจการมณฑลนครราชสีมาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. ๒๔๐๕-๒๔๘๖) ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ พบแต่เพียงว่าสินค้าส่งออกของท้องถิ่นภาคอีสานมีแต่พวกของป่าในท้องถิ่นเท่านั้น ไม่มีสินค้าพวกผ้าไหม ไหมดิบ และไหมอื่นๆ เลย
ต่อมาเมื่อประเทศไทยยอมรับคำแนะนำของฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อใช้นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตโดยถือระบบการค้าไหมดิบของญี่ปุ่นเป็นแบบอย่างแล้ว จึงได้ส่งผู้เชี่ยวชาญคือ คาเมทาโร โตยามา (Kametaro Toyama) เข้ามาสำรวจการเลี้ยงและผลิตไหมในภาคอีสานที่นครราชสีมา ในปีพ.ศ. ๒๔๔๔ ฝ่ายราชการของไทยคือกระทรวงเกษตราธิการและกระทรวงมหาดไทยต้องรอคอยรายงานการสำรวจของโตยามา เพราะไม่รู้ว่ามีการลุ้นยงและผลิตไหมในภาคอีสานมาก่อนดังกล่าวแล้ว จนเมื่อได้รับรายงานแล้วจึงรู้ว่าเกือบทุกหมู่บ้านของภาคอีสานมีการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายด้วยวิธีมัดหมี่ ขิด จก ฯลฯ อยู่ก่อนแล้ว
(ชาวผู้ไท หรือ ภูไท)
นอกจากกลุ่มชนเชื้อสายลาวซึงมีวัฒนธรรมการทอผ้าเป็นกลุ่มชนใหญ่ที่มีเอกลักษณ์ กรรมวิธี และรูปแบบของผ้าเป็นของตนเองแล้ว ยังมีกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าปรากฏมาจปัจจุบันอีกสองกลุ่มคือ กลุ่มผู้ไทและกลุ่มชนเชื้อสายเขมร กลุ่มผู้ไท ทั้งผู้ไทดำ ผู้ไทขาว และผู้ไทแดงเคยอยู่ในดินแดนล้านช้างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงด้วยกัน ก่อนอพยพเข้าสู่ภาคอีสานในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นชนกลุ่มน้อยในภาคอีสานที่มีลักษณะพิเศษคือ  ชอบอยู่เป็นกลุ่มอย่างโดดเดี่ยวเป็นอิสระในกลุ่มเผ่าพันธ์ของตนเอง  แต่เมื่ออยู่ร่วมกันมาก่อนเป็นเวลานาน  จึงมีการผสมผสานทางวัฒนธรรรม  ประเพณี และความเชื่อบางอย่างกับพวกกลุ่มลาวอยู่ไม่น้อย  เมื่อเข้ามาอยู่ในภาคอีสานแล้วก็มีการอพยพเคลื่อนย้ายกระจัดกระจายกันอยู่ตามที่ราบเชิงเขา และบนเขาในเขตจังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธิ์  ชนกลุ่มนี้มีวัฒนธรรมในการทอผ้าที่ค่อนข้างเด่นทั้งด้านสีสันและเทคนิควิธีการทอ
กลุ่มเขมรหรือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรเป็นชนกลุ่มน้อยอีกกลุ่มหนึ่งตั้งถิ่นฐานที่กระจายอยู่ทางแถบจังหวัดสุรินทร์  ศรีษะเกษ และบุรีรัมย์ หรืออีสานใต้ ชนกลุ่มนี้อพยพมาจากประเทศเขมรเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ไล่เลี่ยกันกับพวกส่วย (กวยหรือกุย) ปัจจุบันหลายหมู่บ้านมีทั้งลาว เขมร และส่วยอยู่ร่วมกัน แต่ละกลุ่มมีการทอผ้าที่เป็นลักษณะพิเศษเป็นของงตนเอง
โดยทั่วไปชาวอีสานมีสังคมแบบเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ ส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำนา  ซึ่งต้องใช้เวลาตั้งแต่เพาะปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวประมาณ ๗-๙ เดือน ในแต่ละปีตลอดฤดูฝนและฤดูหนาว ส่วนเวลาในช่วงฤดูร้อนประมาณ ๓ – ๕ เดือนที่ว่าง  ชาวอีสานจะทำงานทุกอย่างเพื่อเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งการทำบุญประเพณีและการพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสต่าง ๆ เป็นวงจรของการดำรงชีพที่หมุนเวียนเช่นนี้ในแต่ละปี
(การสาวไหม)
“ยามว่างจากงานในนา  ผ็หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน ” เป็นคำกล่าวที่สะท้อนให้เห็นสภาพการดำรงชีวิตและสังคมของชาวอีสาน  ดังนั้นการทอผ้าจึงเป็นงานสำคัญของผู้หญิง  ผ้าที่ทอจะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม  ได้แก่ เสื้อ ซิ่น (ผ้านุ่ง) ซ่ง (กางเกง) โสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ เครื่องนอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม และเครื่องใช้ที่จะถวายพระในงานบุญประเพณีต่าง ๆ เช่น ที่นอน หมอน ผ้าห่อคัมภีร์ ผ้ากราบ ผ้าพระเวสส์
กระบวนการทอผ้าเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงไหม  ปลูกหม่อน ปลูกฝ้ายสำหรับทอผ้า เริ่มลงมือทอผ้า  ซึ่งมีประเพณีอย่างหนึ่งเรียกว่า ลงข่วง
(ผ้ามัดหมี่ไทลาว)
การทอผ้าที่สำคัญของชาวอีสาน คือ การทอผ้าเพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ในครัวเรือน  ผ้าซิ่นของกลุ่มไท-ลาวนิยมใช้ลายขนานกับลำตัวต่างกับซิ่นล้านนาที่นิยมลายขวางลำตัวและนุ่งยาวกรอมเท้า  ชาวไท-ลาวอีสานนิยมนุ่งสูงระดับเข่าหรือเหนือเข่า  การต่อหัวซิ่นและตีนซิ่น ถ้าเป็นซิ่นไหมจะต่อตีนซิ่นด้วยไหม  แต่ถ้าเป็นซ่นฝ้ายก็จะต่อด้วยฝ้าย  ตีนซิ่นจะมีขนาดแคบ ๆ ไม่นิยมเชิงใหญ่  หัวซิ่นนิยมต่อด้วยผ้าไหมชิ้นเดียวทอขิดเป็นลายโบกคว่ำและโบกหงาย  ใช้สีขาวหรือสีแดงเป็นพื้น  ใช้ได้ทั้งกับผ้าซิ่นไหมหรือซิ่นฝ้าย  การต่อตะเข็บและลักษณะการนุ่งจะมีลักษณะจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากภาคอื่นคือ การนุ่งซิ่นจะนุ่งป้ายหน้าเก็บซ่อนตะเข็บ  เวลานุ่งตะเข็บหนึ่งอยู่ข้างหลังสะโพก  ต่างกับการนุ่งซุ่นของชาวล้านนาหรือชาวไทยญวนที่นิยมนุ่งผ้าลายขวางที่มีสองตะเข็บ   เวลานุ่งจึงมีตะเข็บหนี่งอยู่ข้างหลังสะโพก  ไม่เหมือนกับซิ่นของชาวลาวซึ่งซ่อนตะเข็บไว้ด้านหน้าจนไม่เห็นตะเข็บ  สิ่งเหล่านี้เป็นค่านิยมที่เป็นประเพณีต่อกันมาแต่อดีต
(ผ้าห่อคัมภีร์)
นอกจากการทอผ้าเป็นเครื่องนุ่งห่มแล้ว  ยังทอตามความเชื่อถือ ศรัทธาพุทธศาสนาด้วย เช่น การทอผ้าสำหรับทำหมอนถวายพระ ผ้าพระเวสส์ ผ้าห่อคัมภีร์ใบลาน  ธงหรือทุง (มักออกเสียง ซุง) ถวายพระในงานบุญตามประเพณี  ความเชื่อ ศาสนาของชาวอีสานที่สืบต่อกันมช้านาน
ผ้าทอพื้นบ้านอีสานที่รู้จักกันดีและทำกันมาแต่โบราณนันมี ๒ ชนิด คือ ผ้าที่ทอจากเส้นใยฝ้ายและไหม  แต่ภายหลังมีการนำเส้นใยสังเคาะห์ประเภทด้ายและไหมโทเรมาผสม  ซึ่งเป็นการทอลักษณะหัตถอุตสาหกรรมการทอผ้าพื้นบ้านแต่เดิมชาวบ้านจะทำเองทุกขั้นตอน  ตั้งแต่ปลูกฝ้ายและปลูกต้นหม่อนเพื่อเอาใบมาเลี้ยงตัวไหม  นำรังไหมมาสาวให้เป็นเส้น  จนกระทั้งฝอกและย้อมสี
(โฮงหมี่)
จากนั้นจึงนำไปทอด้วยเครื่องทอแบบพื้นบ้านทีเรียกว่า  โฮ่งหูก  หรือ โฮ่งกี่  ส่วนราชการใช้เส้นใยสังเคาะห์ทุกชนิดจะใช้วิธีซื้อตามท้องตลาดโดยไม่ต้องฟอกและย้อมตามกรรมวิธีพื้นบ้าน
(ผ้ามัดหมี่บ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ)
ผ้าพื้นบ้านของกลุ่มอีสานไท-ลาว ผู้ไท เขมร ที่รู้จักกันทั่วไป คือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด ผ้าจก และผ้าพื้น
(ผ้าไหมมัดหมี่)
ผ้ามัดหมี่ เป็นผ้าที่ทอให้เกิดลวดลายด้วยการมัดย้อม  การมัดหมี่กรือมักย้อมจะยากง่ายต่างกันขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของลวดลายและสีที่ต้องการ ถ้าทำลวดลายสลับซับซ้อนก็ต้องมัดถี่และมัดมากขึ้น ถ้าต้องการหลายสีจะต้องมัดแล้วย้อมหลายครั้งตามตำแหน่งสีของลาย  ผู้มัดจึงต้องเข้าใจและมีความสำชำนาญทั้งในด้านรูปแบบของลวดลายและหลักวิธีการผสมสี จึงจะได้ผ้าที่สวยงาม
นอกจากนี้การทอต้องทอให้เส้นเครือ  (เส้นยืน) และเส้นพุ่งที่มัดย้อมแล้วประสานตรงกันทุกเส้นตามจังหวะที่มัดย้อมไว้แต่ละลาย  ไม่เช่นนั้นก็จะไม่เกิดเป็นลายตามที่กำหนดไว้  ทุกครั้งที่ทอเส้นพุ่งและเส้นต้องขยับเส้นไหมให้ถูกจังหวะลายกับเส้นเครือทุกเส้นไป  ฉะนั้นการทอผ้ามัดหมี่จึงมีขีดจำกัดที่ต้องทอด้วยหูกหรือกี่ที่ทอด้วยวิธีใช้เส้นพุ่งเท่านั้น  จะทอด้วยกี่กระตุกไม่ได้ กลุ่ม ไท-ลาว และเขมรในภาคอีสานมีความสามารถในการทอผ้ามัดหมี่ทั้งสิ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอำเภอชนบท  จังหวัดขอนแก่นและบริเวณอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ มีการทอผ้ามัดหมี่กันอย่างแพร่หลาย
ชาวไทยเชื้อสายเขมรนิยมทอผ้าไหมมัดหมี่เช่นเดียวกัน  แต่มีการมัดที่มีลักษณะพิเศษเป็นของตัวเอง  และเรียกชื่อต่างไป เช่น ผ้าปูม ผ้าเชียม (ลุยเชียม)  ผ้าอัมปรม ผ้าโฮล นิยมใช้กันในหมู่คนสูงอายุในเขตจังหวัดสุรินทร์นั้นมีคุณภาพดี  นอกจากผ้ามัดหมี่แล้วยังมี ที่มีสีเลื่อมระยับงดงาม  ด้วยการใช้เส้นไหมต่างสีสองเส้นควบกัน
(ผ้าปูม)
(ผ้าโฮลเปราะฮ์)
(ผ้าหางกระรอก)
ผ้าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมทอกันในภาคอีสานคือ ผ้าขิด เป็นผ้าที่สร้างลวดลายโดยใช้แผ่นแบนบางปาดโค้งให้ปลายแหลมด้านหนี่งสะกิดเส้นเครือ  เพื่อเก็บยขึ้นตามรู ลักษณะลวดลายที่ต้องการในแต่ละแถวแต่ละลาย  เมื่อเก็บยกได้ตลอดเส้นเครือแล้วยกไม้เก็บตั้งขึ้นเพื่อพุ่งกระสวยเส้นพุ่งเส้นหนี่ง  ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ลายแต่ละแถวจนหมดเส้นเครือ  ต้องใช้เวลาและความอดทนมากเช่นเดียวกันกับการทอผ้ามัดหมี่  เพียแต่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่า เพราะการทอขิดใช้เขา (ตะกอ) เท่านั้น
จากกรรมวิธีที่ต้องใช้ไม้เก็บยกเส้นเครือ  โดยการนับเส้นเครือแล้วเก็บยกตามลักษณะลวดลายนี้เอง  จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า  เก็บขิด มากกว่า ทอขิด ซึ่งก็มีเรียกกันอยู่บ้าง  แต่เป็นที่รู้จักกันว่าการเก็บขิดคือการเก็บลวดลาย  ส่วนการทอนันป็นขันตอนที่เมื่อพุ่งเส้นพุ่งแล้วจะกระแทกให้เนื้อผ้าแน่น
ภายหลังการเก็บขิดหรือการทอผ้าขิดได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงในด้านวิธีการที่ทำให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น  โดยวิธีใช้ไม้เก็บเหมือนเดิมแล้วใช้ไม้ไผ่เส้นเล็กๆ สอดไว้แทนไม้เก็บจนเต็มลายไม้ที่ต้องการ  เป็นการเก็บขิดแบบถาวร  คือเก็บลายชุดเดียวแล้วสามารถทอลายเดียวกันได้ทั้งหมด  สอดเส้นเครือโดยใช้  เขา  ที่สืบเส้นเครือโยงไว้กับคานบนของโฮงกี่แล้วผูกเชือกรั้งส่วนล่างของเขา  เพื่อเหยียบให้เขาเคลื่อนขึ้นลงตามไม้เก็บที่เก็บไว้เป็นชุด  ด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้สามารถประหยัดเวลาและแรงงานได้มากกว่า
การใช้ลายขิดมีประเพณีนิยมสืบทอดกันมาเพื่อใช้ลายให้เหมาะสมกับการใช้ผ้า เพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น ลายขิดสำหรับทำหมอน จะไม่นำไปทำอย่างอื่น  ลายขิดตีนซิ่นจะไม่นำมาทอเป็นหัวซิ่น  ขิดหัวซิ่นที่นิยมเป็นลายดอกสี่เหลี่ยม  กลุ่มชนที่นิยมทอผ้าขิดและมีรูปแบบลวดลายสีสันเด่นชัดและหลากหลาย คือ กลุ่มไท-ลาว ซึ่งมีทอกันอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดมหาสารคาม  ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี ชัยภูมิ เป็นต้น
การทอผ้าให้มีลวดลายในภาคอีสานอีกประเภทหนึ่ง คือ ทอจก มีทั้งที่ทอด้วยไหมและฝ้าย นิยมทอด้วยโฮงหูกหรือโฮงกี่ เช่นเดียวกับการทอผ้าชนิดอื่น แต่ใช้ขนเม่นจกลวดลาย
กลุ่มผู้ไทในภาคอีสานมีความสามารถทอจกได้อย่างวิจิตรงดงาม ผ้าจกภูไทที่รู้จักกันดี คือ ผ้าแพรวาหรือผ้าแพวา
(ผ้าแพวา หรือ แพรวา)
(ผ้าแพมน)
แพวา ผ้าชนิดหนึ่งใช้ห่มเฉียงไหล่ คลุมไหล่ คล้ายผ้าสไบ ผู้หญิงชาวผู้ไทใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น เทศกาลงานบุญประเพณีหรืองานพิธีสำคัญ  ชาวผู้ไทนิยมทอคู่กันกับผ้าแพรมนหรือผ้าแพมน  ซึ่งเป็นผ้าที่มีขนาดเล็ก รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส  ผ้าแพมนนิยมทอด้วยวิธีจกเช่นเดียวกับแพวา  และใช้เช่นเดียวกับผ้าเช็ดหน้าทั่ว ๆ ไป บางท้องถิ่นใช้เป็นผ้าคลุมศรีษะนาคก่อนอุปสมบท
ลายผ้าพื้นบ้านอีสานได้รับความบันดาลใจมาจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวแบ่งเป็น ๔ กลุ่มได้แก่
ลายที่ได้มาจากรูปร่างของสัตว์  ลายจากพืช ลายที่มาจากสิ่งประดิษฐ์และลายเบ็ดเตล็ด ลวดลายเหล่านี้นอกจากจะปรากฏในผ้ามัดหมี่ ผ้าจก และผ้าขิดแล้ว ยังใช้ตกแต่งผ้าพื้นที่ต้องการความงดงามเป็นพิเศษด้วย
สมัยโบราณ ชาวบ้านจะทอผ้าพื้นบ้านอีสานไว้ใช้ในครอบครัว เช่น ทอเอาไว้ตัดเสื้อ ซิ่น กางเกง สำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยจะทอเก็บไว้ใช้ให้ได้ตลอดปี และทอกันเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ส่วนผู้ชายต้องตีเหล็ก ทำเครื่องจักสาน และทำเครื่องมือประกอบอาชีพอื่นๆ การทอผ้านั้น หากปีใดทอได้มากเหลือใช้ จะนำไปถวายพระสำหรับทำเป็นผ้าห่อคัมภีร์หรือผ้าห่อหนังสือผูกใบลาน ธง ผ้าพระเวสส์ เป็นต้น
เรือมอันเร (รำสาก)
 
 
เรือมอันเร หรือ เรือมลูตอันเร เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ในจังหวัดสุรินทร์ คำว่า เรือม แปลว่า รำ ส่วนคำว่า อันเรแปลว่า สาก เรือมอันเรจึงแปลว่า รำสาก ส่วนคำว่า ลูต แปลว่า กระโดด เต้น ข้าม เพราะฉะนั้น เรือมลูตอันเร จึงแปลว่า รำเต้นสาก หรือการเต้นสาก นิยมละเล่นกันในวันสงกรานต์ ซึ่งเรียกว่า วันต็อม ชาวสุรินทร์จะถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งจะหยุดงาน 3-7 วันเพื่อทำบุญ เมื่อหยุดงานก็มีเวลาว่างที่หนุมสาวจะได้พบปะกัน เกิดการละเล่นสนุกสนาน เช่น การเล่นสะบ้า เรือมอันเร
เรือมอันเร แต่เดิมนั้นไม่มีบทเพลงและท่าฟ้อนรำที่เป็นแบบฉบับอย่างในปัจจุบัน ผู้ประดิษฐ์เนื้อร้อง คือ ครูปิ่น ดีสม ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคกตาพรหม ตำบลโด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้นำบทเพลงพื้นบ้านที่เคยร้องมาบรรจุใส่จังหวะต่างๆ ซึ่งมี 5 จังหวะดังนี้
    1. จังหวะไหว้ครู เกริ่นครู (ถวายครู)
    2. จังหวะเจิงมุย (จังหวะขาเดียว)
    3. จังหวะเจิงปรี (จังหวะสองขา)
    4. จังหวะมะลุปโดง (จังหวะร่มมะพร้าว)
    5. จังหวะกัจปกา ซาปดาน (จังหวะเด็ดดอกไม้)
ส่วนผู้คิดท่าฟ้อนคือ นางผ่องศรี ทองหล่อ และนางแก่นจันทร์ นามวัฒน์ ครูโรงเรียนบ้านหนองโด่ง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้ท่าพื้นฐานที่ฟ้อนกันมาแต่เดิมมาดัดแปลงให้สวยงามยิ่งขึ้น ในการเล่นเรือมอันเรเราจะต้องมีการไหว้ครูเสียก่อน เดิมที่ชาวอีสานยังใช้การตำข้าวด้วยมือ หลังจากตำข้าวเสร็จก็จะนำสากมากระทบกัน ฉะนั้นสากจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเล่นเรือมอันเร การเล่นเรือมอันเรจะฟ้อนเป็นวงกลมรอบตัวผู้กระทบสาก มีการเข้าสากทีละคู่ตามจังหวะดนตรีที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนครบ 5 จังหวะ
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกตัดด้วยผ้าต่วน นิยมใส่สีเหลือง นุ่งผ้าถุงไหมปูม ห่มผ้าสไบเฉียงบางๆ นิยมใช้ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ส่วนมากใช้สีเดียวกับผ้าซิ่น ผมปล่อย อาจจะทัดดอกไม้ให้สวยงาม ส่วนฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้นเป็นสีพื้น นุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าโสร่งไหมหางกระรอก ใช้ผ้าขาวม้าไหมพื้นเมืองของสุรินทร์พับครึ่งพาดบ่าปล่อยทิ้งชายทั้งสองชายด้านหลัง
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ ประกอบด้วย กลองตะโพน ปี่ในหรือปี่อ้อ ซอด้วง ซอตรัวเอ กรับ สาก 1 คู่และไม้หมอน 2 อัน
อุปกรณ์การแสดง
    1. ไม้หมอน 1 คู่ มีขนาดยาว 2-3 ศอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว นิยมใช้ไม้มะค่า หรือ ไม้แดก
    2. สาก 1 คู่ ยาวประมาณ 4-6 ศอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว

สูตรอาหารไทย : ส้มตำไทย

 
ส้มตำไทย
 
 
ส่วนผสม
                            มะละกอสับ 1 ถ้วย          มะเขือเทศสีดา 2 ลุก              แครอทสับ 1/2 ถ้วย
                            ถั่วฝักยาว 1 ฝัก               มะเขือเปราะ หรือมะเขือเหลือง 1 ลูก        พริกขี้หนูสด/แห้ง
                            กระเทียม 1-2 กลีบเล็ก    น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ                 น้ำมะขาวเปียก 1 ช้อนโต๊ะ
                            น้ำมะนาว รวมถึงฝานชิ้นมะนาวลงตำด้วย 1 ช้อนโต๊ะ

                            น้ำตาลปีบ 1 ช้อนโต๊ะ       ปูเค็ม 1 ตัว                            กุ้งแห้ง และ ถั่วลิสง



วิธีทำ 1.ตำพริกขี้หนูและกระเทียม โดยก่อนตำหักถั่วฝักยาวสักสี่ห้าชิ้น หรือหยิบเส้นมะละกอใส่ลงไปด้วยสักแค่หยิบมือ พริกขี้หนูหรือพริกแห้งก็แล้วแต่ความชอบ
2.ตำจนพริกกับกระเทียมแหลกดีแล้วก็ใส่น้ำปลา น้ำมะขาวเปียก น้ำมะนาว น้ำตาลปีบ หั่นมะเขือเทศและมะเขือเปราะใส่ไปสักชิ้น-สองชิ้น อาจจะหั่นมะนาวเป็นชิ้นลงไปด้วย (แต่อย่าลืมลดน้ำมะนาวลงถ้าใส่ชิ้นมะนาวลงไปด้วย)
3.ใส่ปูเค็ม แล้วโคลกเบาๆ เคล้าทุกอย่างให้เข้ากัน ชิมรสชาติ ถ้าไม่พอใจก็ปรุงรสเพิ่มเติม
4,ปรุงรสได้ที่ ใส่มะละกอสับ แครอทสับ ลงไปโขลกเบาๆ คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ตักใส่จานเสริฟๆด้ทันที


การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน

ฟ้อนร้อยเอ็ดเพชรงาม
 
ฟ้อนร้อยเอ็ดเพชรงาม“ร้อยเอ็ดเพชรอีสาน พลาญชัยบึงงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมชั้นดี สตรีโสภา ทุ่งกุลาสดใส งานใหญ่บุญผะเหวด”
เป็นคำขวัญประจำจังหวัดร้อยเอ็ดเดิม ที่อธิบายลักษณะแหล่งท่องเที่ยว สภาพแวดล้อม รวมถึงศิลปวัฒนธรรมประเพณีภายในจังหวัดร้อยเอ็ด
ปัจจุบัน คำขวัญจังหวัดร้อยเอ็ดได้มีการประกวดคำขวัญและได้นำคำขวัญที่ชนะเลิศมาใช้ในใหม่ ในความว่า

“สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ”

ฟ้อนร้อยเอ็ดเพชรงาม ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ประพันธ์เนื้อร้องโดย อ.สมชิต สุนาคราช เป็นการฟ้อนประกอบท่วงทำนองดนตรีที่มีความจังหวะสนุกสนานเร้าใจ การฟ้อนแสดงถึง การอธิบายคำขวัญของจังหวัดร้อยเอ็ดออกมาเป็นท่วงท่าที่สวยงาม โดยมีเนื้อหาเชิญชวนให้ไปท่องเที่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด และการแต่งกายของนักแสดงด้วยผ้าไหมลายประจำจังหวัด ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นอีกด้วย


การแต่งกาย

หญิง สวมเสื้อผ้าไหมแขนสั้น ห่มทับด้วยสไบไหม นุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ร้อยเอ็ด ยาวกรอมเท้า ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน


เพลงร้อยเอ็ดเพชรงาม

มาเถิดอ้ายมา มาเถิดหนามาเที่ยวเมืองร้อยเอ็ด เมืองนี้งามดังเพชร ๆ โอ้เมืองร้อยเอ็ดงามซึ้งตรึงใจ

เสียงแคนดังต่อยแล่นแตร ดอกคูนงามแท้ชูช่อไสว บึงโอ้บึงพลาญชัย ๆ หมู่ปลาแหวกว่ายอยู่ในธารา

โอ โอ้ โอ ถ้าอยากสุขโขมาร้อยเอ็ดเถิดหนา มีพระใหญ่สูงเยี่ยมเทียมฟ้า ๆ ผ้าไหมงามตา สาวโสภาถูกใจ

เสียงพิณดังแว่วแผ่วมา กว้างไกลสุดตาทุ่งกุลาสดใส ชาวร้อยเอ็ดเป็นผู้มีน้ำใจ ๆ จะมองแห่งไหนร้อยเอ็ดงามจริงเอย
                                                    ที่มา : เว็บไซต์ ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

                                       http://www.isan.clubs.chula.ac.th/folkdance/?transaction=roied01.php

การฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

ฟ้อนภูไทเรณูนคร
 

ฟ้อนภูไทเรณูนคร
การฟ้อนภูไทเรณูนคร
            เป็นการฟ้อนประเพณีที่มีมาแต่บรรพบุรุษ ที่สร้างบ้านแปลงเมือง การฟ้อนภูไทนี้ถือว่าเป็นศิลปะเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรม ประจำเผ่าของภูไทเรณูนคร ถือว่าฟ้อนภูไทเป็นการฟ้อนที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครพนม
           ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมในปี พ.ศ. 2498 นั้น นายสง่า จันทรสาขา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมในสมัยนั้น ได้จัดให้มีการฟ้อนผู้ไทถวาย นายคำนึง อินทร์ติยะ ศึกษาธิการอำเภอเรณูนคร ได้อำนวยการปรับปรุงท่าฟ้อนผู้ไทให้สวยงามกว่าเดิม โดยเชิญผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ในการฟ้อนผู้ไทมาให้คำแนะนำ จนกลายเป็นท่าฟ้อนแบบแผนของชาวเรณูนคร และได้ถ่ายทอดให้แก่ลูกหลานสืบทอดต่อจนปัจจุบัน

ปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการได้บรรจุวิชา การฟ้อนภูไทเรณูนคร เข้าไว้ในหลักสูตร ให้นักเรียนทั้งชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้ฝึกฝนเล่าเรียนกันโดยเฉพาะนักเรียนที่เล่าเรียนอยู่ในสถานศึกษาภายในเขตอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม จะฟ้อนรำประเพณี “ฟ้อนภูไทเรณูนคร” เป็นทุกคน

ลักษณะการฟ้อนภูไทเรณูนคร ชายหญิงจับคู่เป็นคู่ ๆ แล้วฟ้อนท่าต่าง ๆ ให้เข้ากับจังหวะดนตรี โดยฟ้อนรำเป็นวงกลม แล้วแต่ละคู่จะเข้าไปฟ้อนกลางวงเป็นการโชว์ลีลาท่าฟ้อน

หญิงสาวที่จะฟ้อนภูไทเรณูนครต้อนรับแขก จะได้ต้องเป็นสาวโสด ผู้ที่แต่งงานแล้วจะไม่มีสิทธิ์ฟ้อนภูไทเรณูนคร เวลาฟ้อนทั้งชายหญิงจะต้องไม่สวมถุงเท้าหรือรองเท้า และที่สำคัญคือในขณะฟ้อนภูไทนั้น ฝ่ายชายจะถูกเนื้อต้องตัวฝ่ายหญิงไม่ได้เด็ดขาด (มิฉะนั้นจะผิดผี เพราะชาวภูไทนับถือผีบ้านผีเมือง อาจจะถูกปรับไหมตามจารีตประเพณีได้)

ท่าฟ้อนภูไทเรณูนคร มี 16 ท่า ดังนี้คือ

1. ท่าโยกหรือท่าเตรียม (ท่าเตรียมโยกตัวไปมาเป็นการอุ่นเครื่องเพื่อจะไปท่าบิน)
2. ท่าบิน หรือท่านกกะทาบินเลียบ
3. ท่าเพลิน หรือท่าลำเพลิน
4. ท่าเชิด หรือ ท่ารำเชิด
5. ท่าม้วน หรือท่ารำม้วน
6. ท่าส่าย หรือท่ารำส่ายเปิด
7. ท่าลมพัดพร้าว
8. ท่ารำเดี่ยว หรือฟ้อนเลือกคู่
9. ท่าเสือออกเหล่า
10. ท่ากาเต้นก้อนข้าวเย็น
11. ท่าเสือลากหาง
12. ท่าม้ากระทืบโฮง
13. ท่าจระเข้ฟาดหาง
14. ท่ามวยโบราณ
15. ท่าถวายพระยาแถน หรือท่าหนุมานถวายแหวน
16. ท่ารำเกี้ยว

โอกาสหรือเวลาที่เล่น นิยมแสดงในเทศกาลต่าง ๆ ที่มีในท้องถิ่น เช่น สงกรานต์ ไหลเรือไฟ งานธาตุวันเพ็ญเดือนสาม และต้อนรับแขกผู้ใหญ่ของจังหวัด เช่น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและมกุฎราชกุมารของต่างประเทศ ฯลฯ

เครื่องดนตรี แบบดั้งเดิม ประกอบด้วย แคน กลองสองหน้า กลองหาง ฆ้องโหม่ง พังฮาด และกั๊บแก๊บ ส่วนในวงโปงลาง ก็ใช้เครื่องดนตรีครบชุดของวงโปงลาง ลายเพลง ใช้ลายลมพัดพร้าว
 
ฟ้อนภูไทเรณูนคร
 
การแต่งกาย
ฝ่ายชายจะนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อสีน้ำเงิน คอตั้งขลิบแดงกระดุมเงิน มีผ้าขาวม้าไหมมัดเอว สวมสายสร้อยเงิน ข้อเท้าทำด้วยเงิน ประแป้งด้วยแป้งขาว มีดอกไม้ทัดหูอย่างสวยงาม

ฝ่ายหญิงนั้นนุ่งผ้าซิ่นและสวมเสื้อแขนกระบอกสีน้ำเงินขลิบแดง ประดับด้วยกระดุมเงิน พาดสไบสีขาวที่ไหล่ซ้ายติดเข็มกลัดเป็นดอกไม้สีแดง สวมสร้อยคอ กำไลข้อมือ ข้อเท้าหรือทำด้วยทองหรือเงินตามควรแก่ฐานะของตน เกล้าผม มีดอกไม้สีขาวประดับผม
 
 ที่มา: เว็บไซต์ ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
 

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน

dd1.jpg

พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน เกิดขึ้นจากความคิดที่ว่า การศึกษาที่สมบูณ์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ที่สมดุลกัน ระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์
การจัดสร้างพิพิธภัณฑ์บ้านโบราณอีสานเพื่อที่จะอธิบายสภาพชีวิตของสังคมและวัฒนธรรมอีสานด้วยข้าวและน้ำเพราะอีสานเป็นสังคมเกษตรกรรม
ทำนา ที่ต้องอาศัยน้ำเป็นหลักสำคัญและยังจะโยงไปสัมพันธ์กับวิถีการดำรงชีวิตที่ผู้คนจะต้องเกี่ยวข้องกันเรื่อง ปลง พืชพันธุ์ป่าไม้ และรวมทั้ง
เกลือด้วย จากนั้นจึงดำเนินการสร้างพิพิธภัณฑ์ด้วยการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาวอีสาน คือที่อยู่อาศัยของชีวิตครอบครัว ซึ่งจะรวมไปถึง
ความสัมพันธ์ของระบบเครือญาติเพื่อนบ้าน


1 เรือนเหย้า
2 เรือนผู้ไท
3 เรือนประมง
4 เรือนผ้าทอ
5 เรือนใหญ่ชาวนาอีสาน
6 เรือนหมอยา